Connect with us

สุขภาพ

บอกทริค ใช้โรลออนระงับกลิ่นกายยังไงไม่ให้ทิ้งคราบเหลือง

Published

on

Disgusted young male wearing checkered shirt and glasses smelling wet sweaty armpit after stressful meeting, feeling nauseous, screwing lips. Black man can't stand bad smell. Hyperhidrosis and hygiene

เชื่อว่าหลายคนมีการใช้ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ รักแร้มีกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นโรลออน สเปรย์ หรือฝงแป้ง ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และเป็นไอเทมคู่ใจของคนที่มีปัญหากลิ่นตัว เพราะช่วยดับกลิ่นอับตามมุมซอกต่าง ๆ  โดยเฉพาะรักแร้ ช่วยให้หมดกังวลเรื่องกลิ่น เพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น

แต่ปัญหาที่ตามมาหลังจากนั้น ซึ่งหลายคนคงเจอเหมือนกันแน่ ๆ คือ หลังการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายต่าง ๆ แล้วมักจะทิ้งคราบเหลืองไว้บนเสื้อตรงรักแร้ ทั้งซักออกยากแถมยังมองเห็นรอยได้ชัดหากเป็นเสื้อสีอ่อนสว่าง โดยเฉพาะเสื้อโทนสีขาว 

คราบเหลืองรักแร้เกิดจากอะไร 

คราบเหลืองรักแร้เกิดจาก การปล่อยทิ้งเสื้อผ้าที่ใส่แล้วทิ้งไว้นานกว่าจะนำไปซัก จนทำให้เกิดการหมักหมม เกิดเป็นคราบเหลือง หรือการรวมตัวกันระหว่างเหงื่อและส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการสะสมจนก่อให้เกิดคราบเหลืองขึ้น และทำความสะอาดได้ยากนั่นเอง 

Man applying deodorant to his armpits

วิธีป้องกันรักแร้เหลือง 

  1. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่มีสาร Aluminum Chlorohydrate

ในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นเหงื่อมีสารผสมหลากหลายตัวด้วยกัน และมักจะเป็นส่วนผสมที่ช่วยระงับเหงื่อ ลดกลิ่นกาย แต่สารส่วนผสมที่ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากเจอปัญหาคราบรักแร้เหลือง คือ Aluminum Chloralhydrate มีคุณสมบัติลดเหงื่อได้ดีในคนที่มีเหงื่อออกมาก แต่ก็มักจะทิ้งคราบเหลืองที่กำจัดออกยากด้วยเช่นกัน 

  1. ทาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายก่อนสวมใส่เสื้อผ้า 

ควรทาโรลออน หรือฉีดสเปรย์ระงับกลิ่นเหงื่อ และรอสักพักเพื่อให้ผิวใต้วงแขนแห้งดีก่อน แล้วจึงค่อยสวมเสื้อผ้า ช่วยลดโอกาสผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเลอะเสื้อ จนไปสะสมกลายเป็นคราบเหลือง ใครที่ชอบสวมเสื้อผ้าก่อน หรือใช้โรลออนแล้วสวมเสื้อทันที คงต้องลองเปลี่ยนวิธีใหม่แล้วล่ะ 

  1. ไม่ทาโรลออนมากเกินไป Woman Applying Deodorant Roll On Under Armpit After Shower on Green Wall Cement,Girl Using Deodorant Body in Bathroom at Home Before Antiperspirant,Authentic Skin Tan Asian,Slim fit and Shapely.

สำหรับใครที่มีกลิ่นตัวแรง หรือมีเหงื่อออกเยอะแล้วกังวล จนอาจรู้สึกนอยด์ จึงกระหน่ำโรลออน โปะและทาเยอะ ๆ ไว้ก่อน เพราะคิดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดกลิ่น ลดเหงื่อได้ แต่ที่จริงไม่ใช่เลย เพราะการทำเช่นนั้น นอกจากจะทำให้เหนียวเหนอะหนะบริเวณผิวใต้วงแขน ยังทำให้เกิดการสะสมของสารระงับกลิ่นเหงื่อ และตกค้างฝังลึกในเส้นใยผ้า กลายเป็นคราบเหลืองและซักออกยากในที่สุด 

  1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายสูตรธรรมชาติ 

ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นเหงื่อที่มีสารเคมี มักจะก่อให้เกิดคราบเหลืองเป็นส่วนใหญ่ ลองหันมาใช้โรลออนที่มีส่วนผสมของธรรมชาติ หรือ เลือกใช้ สารส้ม ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยดับกลิ่นกายที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน เพราะเป็นธรรมชาติ ใช้งานง่าย ไม่ก่อให้เกิดคราบเหลืองบนเสื้อผ้า ไม่มีสารเคมี จึงไม่เกิดการระคายเคืองผิวหนัง จึงเหมาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย และไม่มีน้ำหอม ผู้ที่แพ้น้ำหอมหรือไม่ต้องการให้กลิ่นตีกับน้ำหอม จึงนิยมใช้สารส้มดับกลิ่นเต่าด้วยเช่นกัน 

ซึ่ง 4 วิธีนี้ก็เป็นทริคการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย โดยไม่ทิ้งคราบเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สูตรธรรมชาติ ไม่มีส่วนผสมของ Aluminum ใช้ในปริมาณที่พอดี ควรทาและรอให้แห้งก่อนสวมเสื้อผ้า เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดปัญหาคราบเหลืองบนเสื้อผ้าได้แล้วค่ะ 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สุขภาพ

ระวัง! หมึกบลูริง สวยอันตราย โดนพิษถึงตาย 

Published

on

หมีกสายวงสีน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue – ringed Octopus) อยู่ในสายปลาหมึกยักษ์ (Hapalochlaena spp) แต่มีขนาดลำตัวเล็ก จุดเด่นคือลายวงแหวนสีน้ำเงินสะท้อนแสงได้ ซึ่งกระจายอยู่ตามลำตัวและหนวด หมึกบลูริงตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และหนวดมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เคลื่อนที่ด้วยการใช้หนวดเดิน ชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามซอกหินใต้ท้องทะเล สามารถพบได้ในทั้งในทะเลอันดามัน และ ทะเลอ่าวไทย 

ภาพจาก : https://www.forbesadvocate.com.au/story/7570384/can-you-identify-a-potentially-deadly-blue-ringed-octopus/

พิษของหมึกบลูริงร้ายแรงแค่ไหน

หมึกบลูริงเป็นสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก โดยพิษของหมึกบลูริงร้ายแรงกว่างูมีพิษแบบงูเห่าถึง 20 เท่า และรุนแรงกว่างูทะเลอีกด้วย โดยพิษของหมึกบลูริง คือ Maculotoxin (มาคูโลทอกซิน) มีลักษณะคล้ายกับพิษเทโทรโดทอกซิน หรือ Tetrodotoxin เป็นพิษของปลาปักเป้า ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต โดยพิษหมึกบลูริงจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำลาย (Salivary gland) และพบได้ในปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก ดังนั้น การได้รับพิษของหมึกบลูริง เกิดจากการสัมผัส การถูกกัด หรือเผลอกินหมึกบลูริงเข้าไป ต่อให้นำหมึกบลูริงไปผ่านความร้อนหรือปรุงสุก แต่พิษก็ไม่ได้ถูกทำลายหรือสลายไป เพราะพิษหมึกบลูริงสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส ดังน้้น ไม่ควรทานหมึกบลูริงเป็นอาหารเด็ดขาด 

 

เมื่อถูกหมึกบลูริงกัด หรือกินหมึกชนิดเข้าไป เปรียบได้เหมือนกับฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือด เพราะพิศจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว ผู้ถูกพิษอาจเสียมีอาการแพ้พิษ หรือเสียชีวิตได้ในรายที่รุนแรงภายใน 2-3 นาที ซึ่งเร็วยิ่งกว่าพิษของปลาปักเป้า 

ภาพจาก : https://www.abc.net.au/news/science/2020-12-13/blue-ringed-octopus-bites-and-how-to-avoid-them/12942666

ผู้ที่โดนพิษของหมึกบลูริง มีอาการอย่างไร 

อาการเริ่มแรกของผู้ที่ถูกกัด หรือกินหมึกบลูริงเข้าไป จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด หรือมองไม่เห็น ปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ หายใจไม่ออก เนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่มีอากาศเข้าสู่ปอด จากนั้นจะเป็นอัมพาต และหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วหากได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน 

หมึกบลูริงมีพิษร้ายแรง แต่ทำไมจึงมีคนนำมาปรุงเป็นอาหารจำหน่ายจนกลายเป็นข่าว 

ต้องยอมรับว่าตามลักษณะของหมึกบลูริง ที่มีสงแหวนสีน้ำเงินเรืองแสงได้ ประกอบกับขนาดที่เล็ก ทำให้หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน กลายเป็นที่นิยมของกลุ่มคนผู้ชื่นชอบเลี้ยงปลาสวยงาม รวมไปถึงกลุ่มคนนิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ แม้ว่ากรมประมงจะไม่อนุญาตให้นำเข้าหมึกบลูริงเข้าประเทศ แต่ก็ยังมีคนลักลอบนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือเพื่อเลี้ยงดูตามความชอบส่วนตัว อีกทั้งมีหน่วยงานราชการที่เลี้ยงหมึกสกุลนี้ไว้เพื่อการศึกษา จนกระทั่งในต้นปี ค.ศ.2016 ได้พบหมึกบลูริงถูกวางจำหน่ายบนแผงขายอาหารทะเล โดยปะปนมากับหมึกชนิดอื่น ๆ และพบถูกนำมาจำหน่ายในร้านปิ้งย่างที่เพิ่งเป็นข่าวเร็ว ๆ นี้นั่นเอง 

 

รักษาอย่างไรเมื่อได้รับพิษหมึกบลูริง 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษา หรือยาต้านพิษหมึกบลูริง หากเผลอกินหรือถูกหมึกบลูริงกัด ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และระหว่างนำตัวส่งแพทย์ อาจใช้วิธีเป่าปาก (หากไม่มีเครื่องช่วยหายใจ) เพื่อนำอากาศเข้าสู่ปอด เพื่อช่วยยื้อเวลาของการขาดออกซิเจน ที่อาจทำให้ผู้ได้รับพิษเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันพิษหมึกบลูริง คือ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ เพื่อไม่ให้ถูกหมึกบลูริงกัด และห้ามบริโภคอย่างเด็ดขาด โดยก่อนทานอาหารทะเล โดยเฉพาะเมนูปลาหมึก จะต้องสังเกตลักษณะของหมึกให้ดี หากไม่แน่ใจ ก็อย่าไปเสี่ยงเลย รับประทานอาหารชนิดอื่นแทน เพื่อลดโอกาสความเสี่ยงในการได้รับพิษหมึกบลูริงดีกว่าค่ะ 

Continue Reading

สุขภาพ

อันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue light) ภัยเงียบต่อสุขภาพดวงตา

Published

on

เชื่อว่าหลายคนรู้กันอยู่แล้วว่า แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือของเรามีอันตรายต่อดวงตา รวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่รู้ไหมว่าสารมารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน 

(more…)

Continue Reading

สุขภาพ

รู้ช่วงเวลา “นาฬิกาชีวิต” ปรับสมดุลให้ร่างกายห่างไกลโรค

Published

on

เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า “นาฬิกาชีวิต” กันมาบ้างแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่เข้าใจว่านาฬิกาชีวิตคืออะไร (more…)

Continue Reading

กำลังมาแรง