Connect with us

อาหาร

ต้นกำเนิดทาร์ตไข่ (Egg Tart) ที่ไม่ได้เกิดจากเอเชีย

Published

on

ทาร์ตไข่ ขนมหวานแสนอร่อย คัสตาร์ดจากแป้งพายกรอบ ๆ แต่นุ่มละมุนลิ้นด้วยไข่แดง กลิ่นหอม ๆ ยามออกจากเตาร้อน ๆ จึงไม่แปลกที่ใครหลายคนจะโปรดปรานขนมชนิดนี้ และคนส่วนใหญ่ก็มักเข้าใจว่าเป็นขนมต้นตำรับจากเมืองฮ่องกงหรือมาเก๊า เพราะเป็นของขึ้นชื่อลือชาที่ใครไปเที่ยวแล้วต้องชิม ต้องซื้อกลับมาฝากคนที่บ้าน แต่ที่จริง ต้นกำเนิดของทาร์ตไข่กลับไม่ใช่ในโซนเอเชีย แต่กลับมีที่มาจากคนละฝั่งทวีปเสียด้วยซ้ำ! แถมคนที่คิดค้นสูตรทาร์ตไข่ ก็ไม่ใช่นักทำขนม หรือพ่อครัว แม่บ้านที่ไหน แต่ทาร์ตไข่ คือ เมนูกำจัดไข่แดงเหลือทิ้งจากการซักรีดของพระในอาราม !! โอ้ละหนอ เป็นไงมาไงกันละนี่ ถ้าอย่างนั้นต้องตามไปดูประวัติทาร์ตไข่ มาจากประเทศอะไรกันแน่ และทำไมจากของเหลือทิ้งจึงกลายเป็นขนมแสนอร่อยสุดฮิตที่รู้จักกันทั่วโลก 

 

ย้อนกลับไปถึงต้นกำเนิดของทาร์ตไข่ คือ ขนมหวานสัญชาติของโปรตุเกส เรียกว่า Pastéis de Nata ซึ่งมีประวัติมาอย่างยาวนาน โดยสูตรขนมชนิดนี้เกิดขึ้นในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 โดยพระสงฆ์คาทอลิก จากอาราม Hieronymites ในลิสบอน ซึ่งในสมัยนั้น พระและชีจะใช้ไข่ขาวเพื่อทำให้เสื้อผ้าอยู่ทรง ทำให้มีการใช้ไข่ขาวในปริมาณมาก จึงมีไข่แดงเหลือทิ้งจำนวนมากตามไปด้วย และด้วยเมืองลิสบอนในตอนนั้นเป็นอาณาจักรใหม่ที่เป็นเส้นทางการค้าสำคัญ ทำให้มีสินค้านำเข้ามาแลกเปลี่ยนค้าขายมากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็คือน้ำตาล และโปรตุเกสเองก็สามารถเข้าถึงโรงงานน้ำตาลได้มากถึง 2,500 แห่ง เมื่อมีไข่แดงเหลือทิ้งมากมาย ประกอบกับน้ำตาลก็มีอยู่มากในขณะนั้น พระและชีในวัดจึงเกิดไอเดียนำทั้งสองสิ่งนี้มาอบเป็นขนมต่าง ๆ เป็นแนวทางและวิธีการลดขยะอาหาร ไม่ให้ไข่แดงถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จนได้กำเนิดเมนูใหม่อย่าง “ทาร์ตไข่” ขึ้นมา

Egg tart on wooden background.

 

ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 1800 เกิดสงครามกลางเมืองจนเกิดความวุ่นวายในโปรตุเกส เกิดการปฏิวัติเสรีนิยม ลุกลามใหญ่โตจนกระทั่ง ค.ศ.1820 รัฐบาลโปรตุเกสได้หยุดจ่ายเงินให้กับวัดต่าง ๆ เมื่อไม่เงินสนับสนุนกิจกรรมภายในวัด ทำให้อารามและคอนแวนต์หลายแห่งต้องปิดตัวลง ส่วนวัด Jeronimos ที่ทำทาร์ตไข่กินกันเองภายในวัด เพื่อจะได้ไม่ต้องทิ้งไข่แดงให้สูญเปล่า ก็ได้ทำทาร์ตไข่ออกมาขายเพื่อหารายได้ให้วัดยังคงดำเนินการต่อไปได้ และด้วยที่เขตเบเล็มที่ตั้งของวัดนี้อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองลิสบอน จึงมักมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมความสวยงามของวัดแห่งนี้ รวมไปถึงสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ทาร์ตไข่กลายเป็นที่รู้จักและขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น และเป็นที่ชื่นชอบจนได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยว และเมืองอื่น ๆ ในโปรตุเกส

 

Egg tart on wooden background.

แต่แล้วก็สุดที่จะยื้อได้ อารามถูกสั่งปิดตัวลง แต่เพื่อไม่ให้ทาร์ตไข่ขนมยอดนิยมของทุกคนสูญหายไป พระลูกวัดจึงได้ขายสูตรทาร์ตไข่ให้กับเจ้าของโรงกลั่นน้ำตาล และ 3 ปีต่อมา โรงกลั่นได้เปิดร้านเบเกอร์รี่มีชื่อว่า “Fábrica de Pastéis de Belém” โดยมีเมนูเด็ดและโด่งดังก็คือ ทาร์ตไข่ โดยเรียกว่า “Pastéis de Belém” (เพื่อไม่ให้ซ้ำกับ Pastéis de Nata) กลายเป็นร้านทาร์ตไข่ที่มีชื่อเสียงของโปรตุเกส และเป็นต้นตำรับของทาร์ตไข่ที่ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก 

 

ขนมอบจากเมืองโปรตุเกสได้ข้ามทวีปมาเติบโตในเอเชีย เพราะฮ่องกงและมาเก๊าเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอังกฤษและโปรตุเกสมาก่อน ทำให้มีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของทั้งสองประเทศนั่นเอง 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บ้านและสวน

7 แนวทางการลดขยะอาหาร ทำง่าย ช่วยลดโลกร้อน 

Published

on

ปัจจุบัน การกำจัดขยะเศษอาหารส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการฝังกลบ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลกเราอย่างรุนแรง และเชื่อไหมว่า เราทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในการทำให้โลกร้อน เกี่ยวอะไรกับขยะอาหาร? เรามีเอี่ยวยังไง? และเราแก้ไขอะไรได้บ้าง มาหาคำตอบกันในบทความนี้กันค่ะ 

 

การเดินทางของขยะอาหาร

เชื่อว่าทุกบ้านย่อมต้องมีการทิ้งขยะทุกประเภท และมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ขยะเศษอาหาร และส่วนใหญ่ก็จะใส่ถุงขยะรวมกัน แล้วนำไปทิ้งไว้ที่จุดพักขยะ หรือถังขยะส่วนกลาง รอให้รถเทศบาลหรือรถเก็บขยะเป็นผู้รับไม้ต่อ นำขยะจากต้นทางไปสู่ปลายทาง เพื่อนำไปกำจัดที่ หลุมฝังกลบ แต่รู้ไหมว่า การทำลายขยะเศษอาหารด้วยการฝังกลบ ส่งผลกระทบต่อโลกเราอย่างร้ายกาจ จนใครหลายคนอาจคิดไม่ถึง เพราะระหว่างกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์ขยะเศษอาหาร มีการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาจำนวนมหาศาล ซึ่งก๊าซมีเทนเป็นอีกส่วนประกอบของ ก๊าซเรือนกระจก ตัวการที่ทำให้โลกร้อนนั่นเอง แล้วเราจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร 

 

แนวทางการลดขยะเศษอาหารมีอะไรบ้าง 

แนวทางการลดขยะอาหารที่เราทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ ได้แก่ 

  1. วางแผนการซื้ออาหาร ไม่ซื้อมากเกินความจำเป็น

เมื่อจะออกไปจับจ่ายซื้อวัตถุดิบ ของสด และอาหารอื่น ๆ ควรเช็กของที่มีก่อนว่าของอะไรหมด ของอะไรขาด ของอะไรที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง และจดรายการว่าต้องซื้ออะไรบ้าง เพื่อจำกัดปริมาณของที่จะซื้อ นอกจากจะช่วยให้ไม่ต้องซื้อของซ้ำ ลดปัญหาการทิ้งอาหารเพราะกินไม่ทันจนเน่าเสียหรือหมดอายุ ยังช่วยประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 

 

นอกจากนี้ ลองเปลี่ยนไปช้อปปิ้งเดือนละ 2 ครั้ง แทนการไปจับจ่ายซื้อของทุกสัปดาห์ แล้วซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยเฉพาะของลดราคา ที่อาจเผลอกระหน่ำช้อปไม่ยั้ง เพราะมันอาจไปจบลงที่ถังขยะโดยที่ไม่ทันได้ใช้ หรือใช้ไม่ทัน ก่อให้เกิด food waste ในที่สุด 

  1. ใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า 

กินได้แม้ไม่สวย : ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกซื้อผักผลไม้ รวมไปถึงวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เพอร์เฟกต์ ร้านค้า และแหล่งจำหน่ายหลายแห่งจึงปฏิเสธผักผลไม้ที่มีตำหนิ และคัดทิ้งให้กลายเป็นกลายขยะเศษอาหารอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่มันสามารถทานได้ปกติ และยังคงมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน แต่กลับไม่มีโอกาสได้ขึ้นแท่นโชว์โฉมให้เป็นผู้ถูกเลือก 

 

กินได้ทุกส่วน : บางส่วนของผักที่มักจะถูกตัดทิ้ง บางสิ่งยังกินได้ เช่น เปลือก ราก ใบ เมล็ด หากนำไปทำเป็นอาหารที่เหมาะสม ก็จะได้รสอร่อยและมีประโยชน์ แถมไม่ต้องทิ้งให้เป็นขยะอีกด้วย 

 

กินได้ทั้งเปลือก : ผักผลไม้บางชนิดกินได้ทั้งเปลือก และยังมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าที่จะกินเพียงเนื้อในอย่างเดียว เช่น แอปเปิ้ล แตงกวา หัวไชเท้า เป็นต้น 

 

กินได้ใหม่ : เมนูเดิมที่กินเหลือ หรือผักผลไม้ที่สุกงอม อย่าทิ้ง! เพราะสามารถนำมากินได้อีกในเมนูใหม่ ๆ ไม่จำเจ อร่อยได้ไม่ซ้ำ และให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายไม่ต่างกัน เช่น กล้วยที่สุกนำไปทำขนม หรือเศษผักเหลือ ๆ นำไปทำจับฉ่าย หรือแกงโฮะ เป็นต้น 

  1. ปรุงอาหารแต่พอดี ทานแต่พออิ่ม 

ควรใช้วัตถุดิบปรุงอาหารในปริมาณที่ทานหมด อะไรที่ไม่กินก็ไม่ควรใส่ลงไป แม่บ้านหรือพ่อครัวควรสอบถามสมาชิกในบ้านว่าใครไม่กินอะไรบ้าง จะได้ไม่ต้องใส่ลงไปปรุงอาหาร รวมไปถึงผักตกแต่งจานเพื่อความสวยงาม เพื่อป้องกันการเขี่ยทิ้งลงถังขยะ รวมไปถึงการตักอาหารแต่พอดี ที่สามารถกินได้แต่พออิ่ม กินได้หมดจาน หากทานอาหารบุฟเฟต์ ก็ควรตักเท่าที่กินหมด ไม่ควรตักเยอะ ๆ เพราะกลัวไม่คุ้ม เพราะสุดท้ายอาจกลายเป็นขยะเพราะทานไม่หมด 

  1. จัดเก็บวัตถุดิบอย่างถูกวิธี 

หลังจากที่ซื้อของทุกอย่างเข้าบ้าน อย่ารีบโยนทุกอย่างเข้าตู้เย็น โดยเฉพาะผักผลไม้ เพราะผักผลไม้บางชนิดจะปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมาระหว่างที่เริ่มสุก เช่น กล้วย มะเขือเทศ อะโวคาโด้ แคนตาลูป ฯลฯ ซึ่งก๊าซเอทิลีนจะไปทำให้ผักผลไม้อื่น ๆ อย่าง แอปเปิล เบอร์รี่ต่าง ๆ พริกไทยสด เน่าเสียง่าย จึงต้องทำการแยกผักผลไม้ และวัตถุดิบอื่น ๆ  รวมไปถึงอาหารสด ออกจากกัน ทางที่ดี ควรศึกษาวิธีการเก็บอาหารแต่ละประเภท เพื่อยืดอายุอาหารให้เก็บได้นานขึ้น ไม่เน่าเสียเร็วจนต้องกลายเป็นขยะในที่สุด 

  1. ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง BB / BBE หรือ EXP 

อาหารแห้งและอาหารกระป๋องที่มีการระบุวันหมดอายุ ที่ระบุ “ควรบริโภคก่อน” (BB หรือ BBE ย่อมาจาก Best be for) คือ อาหารที่ยังสามารถบริโภคได้จนถึงวันที่ระบุไว้ ยังไม่หมดอายุ เพียงแต่รสชาติ ความสดใหม่ และคุณค่าอาหารอาจเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย แต่สามารถทานได้ปกติโดยไม่เกิดโทษใด ๆ ต่อร่างกาย ต่างจาก อาหารที่ระบุ “วันหมดอายุ” หรือ EXP คือ วันหมดอายุของอาหาร ไม่ควรทานอาหารนั้น ๆ อีก เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ ซึ่งหลายคนมักจะสับสน และเข้าใจผิดว่าอาหารหมดอายุ อาหารเสีย ทำให้ทิ้งอาหารที่ยังสามารถบริโภคได้ก่อนวันหมดอายุจริง

 

  1. ไม่เทรวม 

การทิ้งขยะในเมืองไทยส่วนใหญ่ยังคงทิ้งแบบเทรวม ๆ กันใส่ถุง ซึ่ง 65 – 70 % เป็นขยะเศษอาหาร ปนเปื้อนขยะอื่น ๆ จนไม่สามารถแยกไปรีไซเคิลได้ ทำให้ต้องนำไปทำลายด้วยการเผาทิ้ง ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก และเปลืองงบประมาณในส่วนของค่ากำจัดขยะในแต่ละปีไม่ใช่น้อย ๆ เลย อีกทั้งยังทำให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่าง ๆ สกปรก และมีกลิ่นเหม็นเน่า ส่งผลต่อสุขอนามัยของคนในชุมชน แต่ถ้ามีการแยกขยะเศษอาหารออกไป ช่วยให้สามารถแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น การนำไปรีไซเคิลเป็นพลังงานชีวภาพ แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น ส่วนขยะอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปทำลายทิ้งเท่านั้นจะมีปริมาณน้อยลง การเผาน้อยลง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าแรงถูกลง ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนขยะเศษอาหารที่มีการแยกไว้ต่างหาก สามารถส่งต่อให้เกษตกรนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น นำไปเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม หมักปุ๋ย ทำน้ำหมัก หรือส่งโรงงานแปลงเป็นอาหารสัตว์จำหน่ายต่อไปก็ได้เช่นกัน 

  1. นำเศษอาหารไปหมักทำปุ๋ย (composting)

ปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะเปียก อาจกลายเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว และสร้างความรำคาญใจได้ หากจัดเก็บและกำจัดไม่ดี เพราะ ทั้งกลิ่น แมลง และความสกปรก จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค จนอาจทำให้คนในบ้านเจ็บป่วยได้ แต่ก็อยากรักษ์โลก ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร แต่ไม่สะดวกกับการที่จะมาคอยขุดดิน ทำหลุมฝังกลบ ไม่มีพื้นที่ ไม่อยากเสียเวลากลบ หรือต้องคอยพลิกกอง ยิ่งถ้าอยู่ในหอพัก หรือคอนโด ห้องเล็ก ๆ ที่แทบจะไม่มีที่เดิน ยิ่งเป็นไปได้ยาก แล้วต้องทำยังไง? ปัจจุบัน การหมักปุ๋ยด้วยขยะอาหารทำได้ง่ายมาก ๆ จบปัญหาทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคในการรักษ์โลกของคนยุคปัจจุบัน เพียงแค่ใช้เครื่องย่อยเศษอาหารอัตโนมัติ ช่วยให้การหมักปุ๋ยง่ายขึ้น สะดวกสบาย ใช้งานง่าย แค่เปิดฝาเครื่อง เทเศษอาหารลงไปเรื่อย ๆ ไม่เกิน 2 วัน ได้ปุ๋ยทันใช้ ไม่ต้องรอนาน จากขยะเปียกแหยะ ๆ กลายเป็นเศษแห้ง ๆ เทลงดินได้เลย ให้กลายเป็นธาตุอาหารในดิน ต้นไม้พืชพรรณเติบโตดี หรือจะนำไปบำรุงผักริมระเบียง ได้ผักปลอดสารพิษ รสอร่อย มีสุขภาพดีไปอีก เป็นอีกแนวคิด Zero waste ลดขยะให้เป็นศูนย์ เพราะไม่เหลือขยะอาหารให้กำจัดทิ้งนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม การบริโภคแบบไม่เหลือทิ้งให้เป็นขยะอาหาร คือ วิธีที่ช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก และช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ดีที่สุด เพราะเป็นการตัดต้นตอที่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น ปัจจัยที่ช่วยกำจัดขยะอาหารได้อย่างยั่งยืนที่สุด คือ การเริ่มลงมือที่ตัวเราเอง

Continue Reading

สุขภาพ

ปัญหาสายตาของเราเหมาะกับวิตามินแบบไหนกันนะ

Published

on

คนในยุคปัจจุบันมีปัญหาสายตาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้หลายสาเหตุ ทั้งพันธุกรรม พฤติกรรม และกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ การจ้องโทรศัพท์มือถือ การจ้องหน้าจอในที่มืดหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่อดวงตาและเกิดปัญหาสายตาตามมา 

ปัญหาเกี่ยวกับสายตามีหลากหลายกลุ่มมากขึ้น ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงอีกต่อไป การดูแลและบำรุงสายตาของแต่ละรูปแบบจึงแตกต่างกันไป วันนี้ zblogged จะมาแนะการเลือกวิตามินบำรุงสายตา ที่เหมาะต่อการดูแลปัญหาเกี่ยวกับสายตาแต่ละกลุ่มมาฝากค่ะ 

  1. วิตามิน A 

วิตามินเอ เหมาะต่อการดูแลปัญหาสายตาของผู้ที่มักจะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ จ้องจอมือถือเป็นเวลานาน ๆ ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือคนที่ต้องขับรถตอนกลางวันท่ามกลางแสงแดดจ้ามาก ๆ ทำให้มีอาการ eyestrain หรือปวดเมื่อยล้าดวงตาจากปริมาณแสงที่พุ่งเข้าสายตามากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อ retina กระจกตาทำงานหนักในการกรองแสง จึงควรเสริมด้วยวิตามิน A ให้เข้าไปช่วยปรับกระจกตา ให้สามารถกรองแสงได้อย่างเหมาะสม 

  1. วิตามิน B1 และ B12 

เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะต้อกระจก และผู้ที่ต้องทำงานหน้าเตาความร้อน เช่น เชฟ แม่ครัว คนทำอาหาร เพราะวิตามินบี 1 และ วิตามินบี 12 ช่วยยับยั้งและชะลอการเกิดต้อกระจกได้ สามารถพบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และนมสด 

  1. วิตามิน B3 หรือ ไนอะซิน (Niacin) 

วิตามิน B3 หรือ ไนอะซิน เหมาะกับผู้ที่มีภาวะต้อหินหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหิน เนื่องจากวิตามินบี 3 มีคุณสมบัติในการช่วยปกป้องจอประสาทตา ไม่ให้ถูกทำลาย จนเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินได้

  1. วิตามิน C และ วิตามิน E 

เหมาะกับผู้สูงวัย และผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก เพราะต้อกระจกเกิดจากโปรตีนในตาถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดฝ้าและตาขุ่นมัว วิตามินซีและวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ไม่ให้ทำลายโปรตีนในดวงตา จึงช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกในตาได้ 

  1. โอเมก้า 3 (Omega 3)

เหมาะกับผู้ที่ภาวะตาแห้ง  หรือมักมีอาการตาเบลอ ควรทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 กรดไขมันสำคัญในการช่วยสร้างน้ำตา เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยรักษาภาวะตาแห้งได้ 

  1. ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน ( Zeaxanthin) 

เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง พนักงานขับรถ หรือต้องขับรถตอนกลางวันที่มีแสงแดดจ้าบ่อย ๆ เพราะ ลูทีน และ ซีแซนทีน เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ช่วยกรองรังสียูวีจากแสงแดด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเกิดโรคจอตาเสื่อมและโรคต้อกระจก สามารถพบลูทีนและซีแซนทีนได้มากในไข่แดง ผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี ปวยเล้ง เป็นต้น 

Continue Reading

สุขภาพ

เมนูอาหารต้านหวัด

Published

on

เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน ยิ่งใกล้หน้าฝน หลังจากอากาศร้อนจัดจนตัวแทบไหม้ ร่างกายอาจปรับไม่ทัน ทำให้หลายคนเริ่มมีอาการหวัดถามหา น้ำมูกเริ่มมา จามเริ่มมี เสียงขาดหาย เราจึงมาชวนทำอาหารต้านหวัด เมนูสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทั้งในส่วนของอาหารและเครื่องดื่ม มีเมนูอะไรบ้าง ไปดูและลงมือทำกันเลยดีกว่าค่ะ

1. ซุปไก่มันฝรั่ง

เมนูอาหารต้านหวัดประจำบ้านของใคร ๆ หลายคน เนื่องจากไก่มีโปรตีน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ และยิ่งเป็นสูตรซุปไก่มันฝรั่งใส่พริกไทยดำ สมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขับไล่หวัดได้ดี เสริมด้วยผักต่าง ๆ ยิ่งดีต่อสุขภาพ หายหวัดไว

ส่วนผสมซุปไก่มันฝรั่ง

ปีกไก่บน หรือ น่องไก่ 15 ชิ้น
มันฝรั่ง ปอกเปลือกหั่นเต๋า 1-2 หัว
หอมหัวใหญ่ ปอกเปลือกหั่นเต๋า 1-2 หัว
มะเขือเทศ หั่นเต๋า 5-6 ลูก
แครอทหั่นชิ้นพอดีคำ
รากผักชี และ ใบผักชี
พริกไทยดำ 10-15 เม็ด
น้ำปลา หรือ ซีอิ๊วขาว (สำหรับคนไม่ทานน้ำปลา) 1-2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำซุปไก่มันฝรั่ง

ใส่น้ำประมาณ ½ ของหม้อต้ม นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง
ใส่รากผักชี พริกไทยดำ มันฝรั่ง แครอท และ ปีกไก่ หรือ น่องไก่
ต้มจนน้ำเดือด หมั่นตักฟองอากาศและไขมันไก่ออก เพื่อให้น้ำซุปไก่ใส
ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย และ เกลือ ชิมรสตามชอบ
ใส่มะเขือเทศ และ หอมใหญ่
ต้มจนต่อผักสุก เมื่อผักสุกดีแล้วจึงปิดไฟ
ตักใส่ถ้วย และ โรยผักชี
พร้อมเสิร์ฟ

2. แกงเลียง

แกงเลียง คือ อาหารต้านหวัดอีกเมนูหนึ่ง เพราะมีสารพัดผักอุดมไปด้วยวิตามินแก้หวัดได้ดี ผนวกกับเครื่องเทศรสเผ็ดร้อนช่วยขับไล่อาการหวัดและความหนาวเย็นในร่างกาย

ส่วนผสมแกงเลียง

บวบ หั่นชิ้นพอดีคำ 150 กรัม
ฟักทอง หั่นชิ้นพอดีคำ 200 กรัม
ข้าวโพดอ่อน หั่นสไลด์ 150 กรัม
ใบแมงลัก 80 กรัม
เห็ด 150 กรัม
กุ้งสด 200-250 กรัม
น้ำซุปไก่ 3 ถ้วย
น้ำปลา หรือ ซีอิ๊วขาว สำหรับปรุงรส

ส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียง

หอมแดง 3-4 หัว
กระชาย 2-3 แง่ง
พริกไทยดำ 1 ช้อนชา
กุ้งแห้งป่นละเอียด ⅓ ถ้วย
กะปิ 1 ช้อนชา

วิธีทำแกงเลียง

โขลกพริกไทย กระชาย และหอมแดงให้ละเอียด
ใส่กะปิและกุ้งแห้งลงไปโขลกให้เข้ากัน
ยกหม้อต้มน้ำให้เดือด
นำพริกแกงที่โขลกไว้แล้วใส่ลงน้ำต้มที่กำลังเดือด
ใส่ฟักทอง
เมื่อฟักทองเริ่มสุกจึงใส่ผักอื่น ๆ ตามลงไป
เมื่อผักสุก ใส่กุ้งสดลงไป
ปรุงรสด้วยน้ำปลาตามชอบ
ใส่ใบแมงลัก พร้อมตักเสิร์ฟ

https://www.gourmetandcuisine.com/

3. น้ำพริกมะขามป้อม

มะขามป้อม คือ ผลไม้วิตามินซีสูงมาก ช่วยแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี สูตรน้ำพริกมะขามป้อมนี้ใส่กะปิเผา กินแกล้มกับไข่เค็มและปลาสลิด

ส่วนผสมน้ำพริกมะขามป้อม
เนื้อมะขามป้อม ½ ถ้วย
กระเทียม 4-5 กลีบ
หอมแดงซอย 1 หัว
พริกขี้หนูสวน 10 เม็ด
กะปิเผา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
ไข่เค็ม
ปลาสลิด
ผักสด เช่น ถั่วพลู แตงกวา มะเขือพวง

วิธีทำน้ำพริกมะขามป้อม

นำเนื้อมะขามป้อมไปโขลกให้พอละเอียด แล้วตักขึ้นพักไว้
โขลกหอมแดง กระเทียม และกะปิ ให้พอแหลก
นำเนื้อมะขามป้อมที่พักไว้ใส่ลงไปโขลกด้วยกัน
ใส่พริกขี้หนูสวนลงไปโขลกพอแตก
ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บ แล้วโขลกเคล้าให้เข้าเนื้อกันดี
ตักใส่ภาชนะ เสิร์ฟพร้อมไข่เค็ม ปลาสลิด และผักสดต่าง ๆ

4. เต้าฮวยน้ำขิง

รสชาติเข้มข้นของน้ำขิงเพียว ๆ อาจไม่ค่อยถูกปากสำหรับบางคนนัก แนะนำเมนูเต้าฮวยน้ำขิง ที่เพิ่มเต้าฮวยลงไปช่วยตัดความเข้มของรสชาติขิง ทำให้ดื่มง่ายขึ้น หรือจะเพิ่มความฟินด้วยปาท่องโก๋ตัวเล็กไปด้วย ก็อร่อยได้สุขภาพเช่นกัน

ส่วนผสมเต้าฮวย

เต้าหู้นิ่ม 1 ถ้วย
น้ำตาลทรายแดง 80 กรัม
น้ำตาลเดกซ์โตรส 40 กรัม
มอลโตเดกซ์ตริน 40 กรัม
สารให้ความคงตัว (seg) 2 กรัม
เกลือ 1 กรัม

ส่วนผสมน้ำขิง

ขิงแก่เผาไฟ 3-4 ชิ้น
น้ำสะอาด 5 ถ้วย
น้ำตาลอ้อย 1 ถ้วย
เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำเต้าฮวยน้ำขิง

นำเต้าหู้นิ่ม น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลเดกซ์โตรส มอลโตเดกซ์ตริน สารให้ความคงตัว และ เกลือ ใส่อ่างผสม ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากัน
เทน้ำร้อนลงไป แล้วคนผสมให้เข้ากัน
นำไปตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่อให้สารคงตัวละลาย
เมื่อน้ำเดือด ใส่ขิงลงไป
ใส่น้ำตาลอ้อย
ปล่อยให้เดือดประมาณ 5 นาที และยกลงตั้งพักไว้
ตักเต้าฮวยใส่ถ้วย เติมน้ำขิง
พร้อมเสิร์ฟ

Fresh green pandan leaf on table

5. น้ำใบเตยน้ำผึ้งมะนาวโซดา

เครื่องดื่มแก้หวัด ที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ แถมสวย ดูเก๋กู๊ด อย่างน้ำใบเตยน้ำผึ้งมะนาวโซดา อุดมไปด้วยวิตามินซีของมะนาว และน้ำผึ้งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หอมกลิ่นใบเตย และซาบซ่าไปกับโซดา ดื่มง่ายและอร่อย หายหวัดอย่างไวเลยล่ะ

ส่วนผสมน้ำใบเตยน้ำผึ้งมะนาวโซดา

ใบเตยหั่นชิ้น
น้ำผึ้ง
น้ำดื่มสะอาด
น้ำมะนาว
โซดา
น้ำแข็ง (มีหรือไม่มีก็ได้)

วืธีทำน้ำใบเตยน้ำผึ้งมะนาวโซดา

ต้มน้ำให้เดือด
ใส่ใบเตยลงไปต้ม
เมื่อน้ำใบเตยเดือด ให้กรองด้วยผ้าขาวบาง
เทน้ำใบเตยที่กรองใส่แก้ว
เติมน้ำผึ้งและน้ำมะนาวและโซดา ตามรสชาติที่ชอบ
ใส่น้ำแข็ง (หรือจะดื่มแบบไม่ใส่น้ำแข็ง หากต้องการดื่มแก้ไอ)
คนให้เข้ากัน แล้วจัดเสิร์ฟ

Continue Reading

กำลังมาแรง