Connect with us

บ้านและสวน

คุณสมบัติของสารส้มใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง นอกจากใช้สารส้มดับกลิ่นเต่า 

Published

on

อากาศร้อน ๆ ในเมืองไทย ทำให้เราหลีกหนีไม่พ้นกับเหงื่อและคราบไคล นอกจากจะกลิ่นเหม็นอับ ยังก่อให้เกิดขึ้ไคลที่เกิดจากหนังกำพร้าของเราผลัดอยู่ทุกวันอยู่แล้ว เจอเหงื่อเข้าไปอีก กลายเป็นคราบและมีกลิ่นตัว บางคนมีกลิ่นตัวรุนแรง เพราะทั้งเหงื่อทั้งไขมัน เป็นปัญหารบกวนจิตใจและคนรอบข้าง ซึ่ง “สารส้ม” เป็นตัวที่ช่วยทำความสะอาดขึ้ไคลออกจากผิว และยังช่วยดับกลิ่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งคนไทยนิยมใช้ดับกลิ่นกันมาช้านาน 

 

หลายคนอาจเคยได้ยินสรรพคุณสารส้มใช้ดับกลิ่นเต่าและแกว่งน้ำขุ่นให้ใส แต่ที่จริงสารส้มมีประโยชน์มากกว่าที่คิด วันนี้ zblogged มีเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับสารส้ม ประโยชน์และโทษของสารส้มมีอะไรบ้าง สารส้มมีคุณสมบัติอย่างไร ใช้สารส้มทารักแร้ได้ไหม 

 

สารส้ม (ชื่อเคมี Alum) คือ สารทำให้หดตัว Astringent ที่เรียกว่า เกลือเชิงซ้อน ผลึกเกลือของสารประกอบที่มีธาตุอะลูมิเนียมและซัลเฟตเป็นสารประกอบหลัก มีรสฝาดเปรี้ยวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถละลายน้ำได้ 

ประเภทของสารส้ม 

สารส้มสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. Potassium Alum

สารส้มชนิดโพแทสเซียม อลัม เป็นเกลือโพแทสเซียมซัลเฟตที่มีน้ำ (Hydrated Potassium Aluminum Sulphate) มีลักษณะเป็นผลึกใส ไม่มีสี และอาจพบเป็นผงสีขาวละเอียดได้เช่นกัน 

 

2.Ammonium Alum 

สารส้มชนิดแอมโมเนียม เป็นเกลือแอมโมเนียม อะลูมิเนียมซัลเฟตที่มีน้ำ (Hydrated Ammonium Aluminum Sulphate) มีลักษณะเป็นผลึกใส ไม่มีสี 

 

สามารถนำสารส้มทั้ง 2 ชนิดไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน ทั้งในระบบครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม แต่สารส้มที่นิยมนำไปใช้งานมากที่สุด คือ สารส้มชนิดโพแทสเซียม อลัม (Potassium Alum)

 

คนในสมัยโบราณ นอกจากจะนำไปใช้แกว่งน้ำให้ตกตะกอน ยังนำสารส้มใช้ห้ามเลือดในกรณีที่เป็นแผลตื้น ๆ หรือแผลที่ไม่ลึกมาก โดยการบดให้เป็นผงละเอียดใช้โรยแผล นอกจากนี้ยังมีการนำสารส้มใช้ห้ามเลือดในกรณีที่ถอนฟัน ด้วยการใช้สารส้ม 1 ส่วน ละลายน้ำเย็น 9 ส่วน หรือ ละลายกับน้ำต้มเดือด 3 ส่วน แล้วใช้อมห้ามเลือดจากการถอนฟัน หรือใช้อมเป็นประจำเพื่อแก้บาดแผลในปาก และป้องกันฟันโยก ฟันคลอน เหงือกร่น

คุณสมบัติของสารส้ม

  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นน้ำหอม แพ้น้ำหอม รวมถึงผู้ที่ชอบใช้น้ำหอม เพราะไม่มีกลิ่นไปหักล้างหรือรบกวนกลิ่นน้ำหอมที่ใช้ 
  • ไม่มีส่วนผสมของครีมและน้ำมัน จึงใช้ได้โดยไม่เปื้อนเสื้อผ้า 
  • ปลอดภัยต่อร่างกาย เพราะสารส้มมีคุณสมบัติเป็นประจุลบ ไม่สามารถซึมผ่านผนังเซลล์ผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ ไม่เกิดการอุดตันรูขุมขน และไม่ทำลายโอโซน ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม 
  • มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่เสื่อมสภาพ ไม่เสื่อมสภาวะต่ออุณหภูมิห้อง 

 

ประโยชน์ของสารส้ม 

  • ระงับกลิ่นตัว ด้วยการกวนสารส้มในน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว ช่วยระงับกลิ่นตัวได้ 100% นานถึง 24 ชั่วโมง สามารถใช้สารส้มทารักแร้ดับกลิ่นตัวได้เป็นประจำ โดยไม่เกิดอันตราย 
  • เปลี่ยนน้ำขุ่นให้กลายเป็นน้ำใส โดยการกวนสารส้มในน้ำ สารแขวนลอยต่าง ๆ จะตกตะกอนลงก้น เหลือแต่น้ำใส ๆ ไว้ใช้อุปโภคได้
  • ใช้ดับกลิ่นคาว โดยการกวรสารส้มในน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้ไปล้างปลา เนื้อ หรือเครื่องในสัตว์ที่ต้องการดับกลิ่น
  • ใช้ห้ามเลือด ด้วยการป่นหรือบดสารส้มให้เป็นผงละเอียดแล้วละลายน้ำ หรือใช้โรยบนบาดแผลได้เลย ซึ่งจะรู้สึกแสบเล็กน้อย แต่ห้ามเลือดได้ผลดี 
  • ทาแก้ผื่นคันตามผิวหนังจากยุงหรือแมลงกัด และอาการคันระคายเคืองผิวหนังจากสาเหตุอื่น ๆ 
  • ใช้หลังโกนหนวดไม่ให้เกิดการระคายเคือง ช่วยห้ามเลือดและสมานแผลที่เกิดจากการโกนหนวด
  • ทำให้อาเจียนเพื่อถอนพิษ กรณีที่เผลอกินหรือกลืนสารพิษ เช่น กินเห็ดเมา กินยาผิด กลืนสารเคมี กรดหรือด่าง ให้ตำสารส้มละลายน้ำ แล้วดื่มถอนพิษ จะทำให้อาเจียนเอาพิษออกมา 
  • ชุบไส้ตะเกียง ทำให้ไม่มีควัน วิธีคือ ใช้กวนสารส้มในน้ำ แล้วนำไส้ตะเกียงไปชุบ จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง เวลาที่จุดตะเกียงก็จะไม่มีควันรบกวน
  • รักษาถั่วงอกให้กรอบ สด เก็บได้นาน โดยการนำถั่วงอกแช่ลงในน้ำที่กวนด้วยสารส้ม แล้วค่อยตั้งให้สะเด็ดน้ำ 
  • ดองผักให้กรอบ และช่วยให้อาหารกรอบ โดยเฉพาะผัก ทำง่าย ๆ โดยการนำผักไปแช่ในน้ำที่กวนด้วยสารส้ม ก่อนนำผักไปดองหรือปรุงอาหาร 
  • ช่วยให้ข้าวเหนียวมีเมล็ดสวย วิธีทำ น้ำข้าวเหนียวแช่ในน้ำที่กวนด้วยสารส้ม ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วเปลี่ยนน้ำแช่ใหม่ เมื่อนำไปนึ่ง ข้าวเหนียวจะเรียงเม็ดสวย น่ารับประทาน นุ่ม และเก็บได้นานขึ้น
  • เก็บรักษาพริกขี้หนูให้สดได้นาน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักครู่ แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง และเมื่อจะทานจะต้องล้างพริกก่อนทุกครั้ง  
  • กันบูด ใช้สารส้มผสมกับแป้งเปียกเพื่อใช้กันบูดได้ 
  • ใช้ป้องกันและรักษาส้นเท้าแตก 
  • ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ย้อมสีผ้าเพื่อช่วยให้สีติดเส้นใยได้ดีขึ้น อุตสาหกรรมกระดาษ การประปา การบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น 

 

ข้อควรระวังในการใช้สารส้ม 

แม้ว่าสารส้มมีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ เนื่องจากสารส้มมีสารประกอบเป็นอะลูมิเนียมและซัลเฟต จึงต้องระมัดระวังในการใช้ และเพื่อใช้สารส้มให้ได้ผลอย่างปลอดภัย ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำไปใช้ เพราะการใช้สารส้มในบางกรณีอาจเกิดอันตรายได้ เช่น การทานสารส้มอะลัมเพื่อช่วยให้อาเจียนขับสารพิษ แต่ถ้าทานในปริมาณมากเกินไป จะทำให้ร่างกายดูดซึมอะลูมิเนียมเข้าไปได้ รวมถึงผลข้างเคียงอื่น ๆ  เช่น อาการคลื่นไส้ หรือ ปวดศีรษะ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย แนะนำว่า ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด รวมทั้งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้สารส้มดีที่สุด

 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บ้านและสวน

7 แนวทางการลดขยะอาหาร ทำง่าย ช่วยลดโลกร้อน 

Published

on

ปัจจุบัน การกำจัดขยะเศษอาหารส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการฝังกลบ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลกเราอย่างรุนแรง และเชื่อไหมว่า เราทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในการทำให้โลกร้อน เกี่ยวอะไรกับขยะอาหาร? เรามีเอี่ยวยังไง? และเราแก้ไขอะไรได้บ้าง มาหาคำตอบกันในบทความนี้กันค่ะ 

 

การเดินทางของขยะอาหาร

เชื่อว่าทุกบ้านย่อมต้องมีการทิ้งขยะทุกประเภท และมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ขยะเศษอาหาร และส่วนใหญ่ก็จะใส่ถุงขยะรวมกัน แล้วนำไปทิ้งไว้ที่จุดพักขยะ หรือถังขยะส่วนกลาง รอให้รถเทศบาลหรือรถเก็บขยะเป็นผู้รับไม้ต่อ นำขยะจากต้นทางไปสู่ปลายทาง เพื่อนำไปกำจัดที่ หลุมฝังกลบ แต่รู้ไหมว่า การทำลายขยะเศษอาหารด้วยการฝังกลบ ส่งผลกระทบต่อโลกเราอย่างร้ายกาจ จนใครหลายคนอาจคิดไม่ถึง เพราะระหว่างกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์ขยะเศษอาหาร มีการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาจำนวนมหาศาล ซึ่งก๊าซมีเทนเป็นอีกส่วนประกอบของ ก๊าซเรือนกระจก ตัวการที่ทำให้โลกร้อนนั่นเอง แล้วเราจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร 

 

แนวทางการลดขยะเศษอาหารมีอะไรบ้าง 

แนวทางการลดขยะอาหารที่เราทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ ได้แก่ 

  1. วางแผนการซื้ออาหาร ไม่ซื้อมากเกินความจำเป็น

เมื่อจะออกไปจับจ่ายซื้อวัตถุดิบ ของสด และอาหารอื่น ๆ ควรเช็กของที่มีก่อนว่าของอะไรหมด ของอะไรขาด ของอะไรที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง และจดรายการว่าต้องซื้ออะไรบ้าง เพื่อจำกัดปริมาณของที่จะซื้อ นอกจากจะช่วยให้ไม่ต้องซื้อของซ้ำ ลดปัญหาการทิ้งอาหารเพราะกินไม่ทันจนเน่าเสียหรือหมดอายุ ยังช่วยประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 

 

นอกจากนี้ ลองเปลี่ยนไปช้อปปิ้งเดือนละ 2 ครั้ง แทนการไปจับจ่ายซื้อของทุกสัปดาห์ แล้วซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า โดยเฉพาะของลดราคา ที่อาจเผลอกระหน่ำช้อปไม่ยั้ง เพราะมันอาจไปจบลงที่ถังขยะโดยที่ไม่ทันได้ใช้ หรือใช้ไม่ทัน ก่อให้เกิด food waste ในที่สุด 

  1. ใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า 

กินได้แม้ไม่สวย : ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกซื้อผักผลไม้ รวมไปถึงวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เพอร์เฟกต์ ร้านค้า และแหล่งจำหน่ายหลายแห่งจึงปฏิเสธผักผลไม้ที่มีตำหนิ และคัดทิ้งให้กลายเป็นกลายขยะเศษอาหารอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่มันสามารถทานได้ปกติ และยังคงมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน แต่กลับไม่มีโอกาสได้ขึ้นแท่นโชว์โฉมให้เป็นผู้ถูกเลือก 

 

กินได้ทุกส่วน : บางส่วนของผักที่มักจะถูกตัดทิ้ง บางสิ่งยังกินได้ เช่น เปลือก ราก ใบ เมล็ด หากนำไปทำเป็นอาหารที่เหมาะสม ก็จะได้รสอร่อยและมีประโยชน์ แถมไม่ต้องทิ้งให้เป็นขยะอีกด้วย 

 

กินได้ทั้งเปลือก : ผักผลไม้บางชนิดกินได้ทั้งเปลือก และยังมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าที่จะกินเพียงเนื้อในอย่างเดียว เช่น แอปเปิ้ล แตงกวา หัวไชเท้า เป็นต้น 

 

กินได้ใหม่ : เมนูเดิมที่กินเหลือ หรือผักผลไม้ที่สุกงอม อย่าทิ้ง! เพราะสามารถนำมากินได้อีกในเมนูใหม่ ๆ ไม่จำเจ อร่อยได้ไม่ซ้ำ และให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายไม่ต่างกัน เช่น กล้วยที่สุกนำไปทำขนม หรือเศษผักเหลือ ๆ นำไปทำจับฉ่าย หรือแกงโฮะ เป็นต้น 

  1. ปรุงอาหารแต่พอดี ทานแต่พออิ่ม 

ควรใช้วัตถุดิบปรุงอาหารในปริมาณที่ทานหมด อะไรที่ไม่กินก็ไม่ควรใส่ลงไป แม่บ้านหรือพ่อครัวควรสอบถามสมาชิกในบ้านว่าใครไม่กินอะไรบ้าง จะได้ไม่ต้องใส่ลงไปปรุงอาหาร รวมไปถึงผักตกแต่งจานเพื่อความสวยงาม เพื่อป้องกันการเขี่ยทิ้งลงถังขยะ รวมไปถึงการตักอาหารแต่พอดี ที่สามารถกินได้แต่พออิ่ม กินได้หมดจาน หากทานอาหารบุฟเฟต์ ก็ควรตักเท่าที่กินหมด ไม่ควรตักเยอะ ๆ เพราะกลัวไม่คุ้ม เพราะสุดท้ายอาจกลายเป็นขยะเพราะทานไม่หมด 

  1. จัดเก็บวัตถุดิบอย่างถูกวิธี 

หลังจากที่ซื้อของทุกอย่างเข้าบ้าน อย่ารีบโยนทุกอย่างเข้าตู้เย็น โดยเฉพาะผักผลไม้ เพราะผักผลไม้บางชนิดจะปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมาระหว่างที่เริ่มสุก เช่น กล้วย มะเขือเทศ อะโวคาโด้ แคนตาลูป ฯลฯ ซึ่งก๊าซเอทิลีนจะไปทำให้ผักผลไม้อื่น ๆ อย่าง แอปเปิล เบอร์รี่ต่าง ๆ พริกไทยสด เน่าเสียง่าย จึงต้องทำการแยกผักผลไม้ และวัตถุดิบอื่น ๆ  รวมไปถึงอาหารสด ออกจากกัน ทางที่ดี ควรศึกษาวิธีการเก็บอาหารแต่ละประเภท เพื่อยืดอายุอาหารให้เก็บได้นานขึ้น ไม่เน่าเสียเร็วจนต้องกลายเป็นขยะในที่สุด 

  1. ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง BB / BBE หรือ EXP 

อาหารแห้งและอาหารกระป๋องที่มีการระบุวันหมดอายุ ที่ระบุ “ควรบริโภคก่อน” (BB หรือ BBE ย่อมาจาก Best be for) คือ อาหารที่ยังสามารถบริโภคได้จนถึงวันที่ระบุไว้ ยังไม่หมดอายุ เพียงแต่รสชาติ ความสดใหม่ และคุณค่าอาหารอาจเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย แต่สามารถทานได้ปกติโดยไม่เกิดโทษใด ๆ ต่อร่างกาย ต่างจาก อาหารที่ระบุ “วันหมดอายุ” หรือ EXP คือ วันหมดอายุของอาหาร ไม่ควรทานอาหารนั้น ๆ อีก เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ ซึ่งหลายคนมักจะสับสน และเข้าใจผิดว่าอาหารหมดอายุ อาหารเสีย ทำให้ทิ้งอาหารที่ยังสามารถบริโภคได้ก่อนวันหมดอายุจริง

 

  1. ไม่เทรวม 

การทิ้งขยะในเมืองไทยส่วนใหญ่ยังคงทิ้งแบบเทรวม ๆ กันใส่ถุง ซึ่ง 65 – 70 % เป็นขยะเศษอาหาร ปนเปื้อนขยะอื่น ๆ จนไม่สามารถแยกไปรีไซเคิลได้ ทำให้ต้องนำไปทำลายด้วยการเผาทิ้ง ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก และเปลืองงบประมาณในส่วนของค่ากำจัดขยะในแต่ละปีไม่ใช่น้อย ๆ เลย อีกทั้งยังทำให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่าง ๆ สกปรก และมีกลิ่นเหม็นเน่า ส่งผลต่อสุขอนามัยของคนในชุมชน แต่ถ้ามีการแยกขยะเศษอาหารออกไป ช่วยให้สามารถแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น การนำไปรีไซเคิลเป็นพลังงานชีวภาพ แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น ส่วนขยะอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปทำลายทิ้งเท่านั้นจะมีปริมาณน้อยลง การเผาน้อยลง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าแรงถูกลง ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนขยะเศษอาหารที่มีการแยกไว้ต่างหาก สามารถส่งต่อให้เกษตกรนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น นำไปเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม หมักปุ๋ย ทำน้ำหมัก หรือส่งโรงงานแปลงเป็นอาหารสัตว์จำหน่ายต่อไปก็ได้เช่นกัน 

  1. นำเศษอาหารไปหมักทำปุ๋ย (composting)

ปัญหาขยะเศษอาหารหรือขยะเปียก อาจกลายเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว และสร้างความรำคาญใจได้ หากจัดเก็บและกำจัดไม่ดี เพราะ ทั้งกลิ่น แมลง และความสกปรก จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค จนอาจทำให้คนในบ้านเจ็บป่วยได้ แต่ก็อยากรักษ์โลก ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร แต่ไม่สะดวกกับการที่จะมาคอยขุดดิน ทำหลุมฝังกลบ ไม่มีพื้นที่ ไม่อยากเสียเวลากลบ หรือต้องคอยพลิกกอง ยิ่งถ้าอยู่ในหอพัก หรือคอนโด ห้องเล็ก ๆ ที่แทบจะไม่มีที่เดิน ยิ่งเป็นไปได้ยาก แล้วต้องทำยังไง? ปัจจุบัน การหมักปุ๋ยด้วยขยะอาหารทำได้ง่ายมาก ๆ จบปัญหาทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคในการรักษ์โลกของคนยุคปัจจุบัน เพียงแค่ใช้เครื่องย่อยเศษอาหารอัตโนมัติ ช่วยให้การหมักปุ๋ยง่ายขึ้น สะดวกสบาย ใช้งานง่าย แค่เปิดฝาเครื่อง เทเศษอาหารลงไปเรื่อย ๆ ไม่เกิน 2 วัน ได้ปุ๋ยทันใช้ ไม่ต้องรอนาน จากขยะเปียกแหยะ ๆ กลายเป็นเศษแห้ง ๆ เทลงดินได้เลย ให้กลายเป็นธาตุอาหารในดิน ต้นไม้พืชพรรณเติบโตดี หรือจะนำไปบำรุงผักริมระเบียง ได้ผักปลอดสารพิษ รสอร่อย มีสุขภาพดีไปอีก เป็นอีกแนวคิด Zero waste ลดขยะให้เป็นศูนย์ เพราะไม่เหลือขยะอาหารให้กำจัดทิ้งนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม การบริโภคแบบไม่เหลือทิ้งให้เป็นขยะอาหาร คือ วิธีที่ช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก และช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ดีที่สุด เพราะเป็นการตัดต้นตอที่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น ปัจจัยที่ช่วยกำจัดขยะอาหารได้อย่างยั่งยืนที่สุด คือ การเริ่มลงมือที่ตัวเราเอง

Continue Reading

กฎหมาย

เช่าห้องเก็บของ VS สร้างห้องเก็บของ แบบไหนคุ้มค่าและดีกว่ากัน

Published

on

สำหรับบ้านไหนที่ทำเป็นโฮมออฟฟิศ บ้านและที่ทำงานคือที่เดียวกัน หรือบ้านที่กำลังจะมีสมาชิกเพิ่ม และบริเวณข้างบ้านยังคงมีที่ว่าง อาจกำลังแพลนที่จะทำการต่อเติมข้างบ้านสร้างห้องเก็บของ เพื่อเก็บข้าวของที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือจัดทำพื้นที่สำหรับสต็อกสินค้าไว้ส่งขาย โดยที่ภายในบ้านยังคงมีพื้นที่ใช้สอยได้อย่างปกติ และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม แต่รู้ไหมว่า การต่อเติมใด ๆ แม้จะอยู่ในพื้นที่บ้านตัวเอง ก็ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายการการก่อสร้างและต่อเติมอาคาร ซึ่งมีข้อจำกัดที่ทำได้และไม่ได้ที่เจ้าบ้านจะต้องรู้และทำตามอย่างเคร่งครัด หากไม่อยากให้เกิดความเสียหายและมีปัญหายุ่งยากตามมาในอนาคต

โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คือ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรง ซึ่ง มาตรา 21 และ 39 ทวิ ได้สรุปใจความสั้น ๆ ให้เข้าใจง่าย “ การก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร จะต้องแจ้งและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมกับการยื่นแบบแปลนฯ รวมถึงรายชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานทั้งหมด ให้เจ้าพนักงานได้ทราบ” ส่วนรายละเอียดกฏหมายที่ควรรู้ ก่อนทำการต่อเติมข้างบ้านหรืออาคาร มีดังนี้ ข้อควรรู้ก่อนทำการต่อเติมบ้าน

ก่อนสร้างห้องเก็บของต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

1. ระยะห่างระหว่างตัวบ้านและที่ดินบ้านใกล้เคียง

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงเมื่อจะต่อเติมข้างบ้าน คือ ระยะห่างระหว่างโครงสร้างที่จะต่อเติม กับ แนวเขตพื้นที่ดินบ้านติดกัน ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกสั่งรื้อถอน ซึ่งจะทำให้เสียทั้งเงินและเวลา โดยมีข้อกำหนดของระยะห่างระหว่างตัวบ้านและที่ดินของบ้านที่ติดกันไว้ว่า การต่อเติมข้างบ้านแบบเป็นผนังทึบไม่มีช่องแสง ต้องห่างแนวเขตที่ดินบ้านที่อยู่ติดกันไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร หรือถ้าเป็นแบบที่มีประตู หน้าต่าง มีช่องแสง ช่องระบายอากาศ ต่อเติมห่างจากแนวเขตที่ดินบ้านติดกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าต้องการต่อเติมให้ชิดแนวเขตที่ดินบ้านติดกัน ต้องเจรจากับเจ้าของบ้านนั้น ๆ และมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร จึงจะต่อเติมให้ชิดแนวเขตบ้านติดกันได้ ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฏหมาย

สำหรับการออกแบบต่อเติมข้างบ้านทำเป็นห้องเก็บของ สามารถต่อเติมผนังและหลังคาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวของด้านในเสียหาย ควรมีหน้าต่างเล็ก ๆ เพื่อระบายอากาศ และทำประตูเข้าออกให้มิดชิดแน่นหนา

2. ห้ามต่อเติมอาคารเต็มพื้นที่ดิน ต้องมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 30%

ข้อกฏหมายการต่อเติมที่พักอาศัย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 ไม่อนุญาตให้ต่อเติมแบบปิดทึบทั้งหมดจนเต็มที่ดินได้ จะต้องมีการเว้นว่างระหว่างตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเองอย่างน้อย ร้อยละ 30 ของที่ดินโดยรอบอาคารตัวบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อัคคีภัย หากตัวอาคารติดกันจนไม่มีช่องว่าง จะทำให้ไฟลุกลามได้ง่ายขึ้น ยากต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ และการซ่อมแซม นอกจากนี้ ยังทำให้บ้านอับชื้นหรือเกิดเชื้อราได้ง่าย เพราะการระบายอากาศไม่ดี

3. โครงสร้าง

ผลกระทบต่อโครงสร้าง คือ อีกสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนสร้างห้องเก็บของ เพราะปัญหาที่พบได้บ่อยจากการต่อเติมเพิ่มโครงสร้าง มักเป็นเรื่องของการทรุดตัว เกิดรอยแยกของผนัง แตกร้าว หลังคารั่วซึมบริเวณรอยต่อ จึงต้องมีการตอกเสาเข็มเพิ่ม จัดทำและระวังในจุดเชื่อมต่อโครงสร้างเดิมกับส่วนที่ต่อเติมใหม่ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นในอนาคต

4. ความยินยอมของเพื่อนบ้าน

แม้ว่าการต่อเติมข้างบ้านจะมีการคำนวณพื้นที่อย่างดี ไม่กระทบต่อพื้นที่บริเวณใกล้เคียง และดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฏหมาย แต่ควรแจ้งกับเพื่อนบ้านให้ทราบถึงช่วงวัน เวลา และระยะการสิ้นสุดของการต่อเติมบ้าน ที่อาจส่งผลกระทบในเรื่องของเสียง ฝุ่น และมลภาวะอื่น ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกัน หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา ลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ถูกฟ้องร้องได้

5. การขออนุญาตกับเจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมบ้าน หรือเพิ่มอาคาร ที่มีขอบเขตต่อไปนี้

ก่อสร้าง ดัดแปลง เพิ่มอาคารที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 ตารางเมตร
มีการลด – เพิ่ม จำนวนคานหรือเสา
ดัดแปลงหรือต่อเติมที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและวัสดุต่างไปจากของเดิม
บ้านมีฐานรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น จากการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร

ทั้งหมดนี้จะต้องทำการขออนุญาตจากเจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถูกกฏหมาย เพื่อป้องกันการถูกรื้อถอนอาคารจากการทำผิด พ.ร.บ.ในภายหลัง

เอกสารในการขออนุญาตที่ต้องเตรียม มีดังนี้

สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาโฉนดที่ดิน
แบบขออนุญาตก่อสร้าง ประกอบไปด้วย แผนผัง แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน
รายการคำนวณจากวิศวกร
หนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน (ในกรณีต่อเติมข้างบ้านชิดแนวเขตที่ดินบ้านติดกัน)
เอกสารจากเขต
แต่มีข้อกำหนดกการต่อเติมบ้านที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต และยังถูกกฏหมาย ได้แก่
การเพิ่มหรือลดพื้นที่หลังคาไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่เพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยชนิด วัสดุ ขนาด และจำนวนเท่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่โครงสร้างเดิม ไม่เพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างเดิมเกิน 10%
การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม หรือ ลด โดยเนื้อที่ส่วนต่าง ๆ ของบ้าน ไม่เพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างเดิมเกิน 10%

แม้ว่าการสร้างห้องเก็บของจะเพิ่มความสะดวกให้กับบ้านที่มีพื้นที่ว่างก็จริง แต่ก็ต้องมีการวางแผนอย่างละเอียด และเตรียมพร้อมให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามให้ถูกต้องข้อกฏหมาย หรือมีผู้ร้องเรียน เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจถูกสั่งให้มีการรื้อถอนอาคารที่ผิด พ.ร.บ. สร้างความยุ่งยาก ทำให้เสียเงินและเสียเวลา กล่าวได้ว่าผลที่ได้ไม่คุ้มค่าแถมยังเจ็บตัว

ใช้บริการเช่าห้องเก็บของ ลดขั้นตอน ลดความเสี่ยง

แต่สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก ไม่อยากยุ่งยาก ไม่อยากวุ่นวายหลายขั้นตอน และไม่อยากเสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าว การเช่าห้องเก็บของ ย่อมเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ได้มากกว่า เพราะห้องเก็บของให้เช่าสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในอาคารสูง ไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพอากาศ มีระบบความปลอดภัยทั้งในรูปแบบของเทคโนโลยีและการดูแลจากพนักงาน สามารถเช่าระยะสั้นเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือจะเหมาเช่าเป็นรายเดือน หรือรายปีก็ได้เช่นกัน ยิ่งเช่านานเท่าไร ยิ่งจ่ายค่าเช่าห้องเก็บของราคาถูกมากขึ้น ยกเลิกการเช่าง่าย ไม่ยุ่งยากในการดูแลทำความสะอาด สามารถเข้าใช้ห้องเก็บของได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่หายห่วงเรื่องความปลอดภัย และผู้คนไม่พลุกพล่าน เพราะเป็นระบบสมาชิก จำกัดการเข้าใช้บริการเฉพาะผู้เช่าที่ถือคีย์การ์ด และมีกุญแจห้องเก็บของส่วนตัวเท่านั้น ห้องเก็บของให้เช่าส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้สะดวกต่อการเดินทาง และเมื่อคำนวณค่าเช่าห้องเก็บของเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการสร้างห้องเก็บของ ทำให้หลายคนหันมาเลือกใช้บริการเช่าห้องเก็บของ (Self Storage) ที่ไม่ต้องยุ่งยากในการเดินเรื่องขออนุญาต ไม่ต้องรวบรวมเอกสารมากมาย ไม่ต้องสะสมทุน ไม่ต้องกู้ธนาคาร และไม่เสียงบบานปลาย แต่สามารถมีห้องเก็บของส่วนตัวนอกบ้าน ที่จะเก็บข้าวของเท่าไรก็ได้ แต่ถ้าจะให้ตอบว่า ระหว่าง เช่าห้องเก็บของ กับ สร้างห้องเก็บของ แบบไหนคุ้มค่ามากกว่าสำหรับคุณ ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสะดวกของแต่ละคนค่ะ 

Continue Reading

กฎหมาย

ทะเบียนบ้านสีเหลืองกับสีน้ำเงินต่างกันอย่างไร 

Published

on

เคยสงสัยกันไหมว่า ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท แล้วทะเบียนบ้านมีกี่สี และทะเบียนบ้านแต่ละสีทำอะไรได้บ้าง วันนี้แอดมินมีมาชี้แจงค่ะ

 

ทะเบียนบ้านคืออะไร 

ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารทางราชการที่ใช้แสดงเลขประจำบ้านของแต่ละหลัง และแสดงรายชื่อของผู้อาศัยภายในบ้านหลังนั้น ๆ โดยทะเบียนบ้านในแต่ละหลังสามารถมีจำนวนสมาชิกอาศัยอยู่ได้เท่าไร ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของบ้าน โดยตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านได้เพียงแค่ 1 คน ส่วนจำนวนคนในบ้าน คิดตามพื้นที่ 3 ตารางเมตร / ผู้อาศัย 1 คน 

 

ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท

ทะเบียนบ้านแบ่งออกเป็นหลัก ๆ 2 ประเภท ได้แก่

  1. ทะเบียนบ้านสีน้ำเงิน ท.ร.14 สำหรับผู้มีสัญชาติไทย 

ทะเบียนบ้านสีน้ำเงิน ท.ร.14 คือ ทะเบียนบ้านสำหรับผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งเป็นเล่มทะเบียนที่เราเห็นกันโดยทั่วไป ซึ่งมี “เจ้าบ้าน” เป็นเจ้าของบ้านหรือเป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งการครอบครองบ้านในที่นี้ อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นก็ได้เช่นกัน โดยเจ้าบ้านจะมีหน้าที่ตามกฏหมายทะเบียนราษฎร ที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน ในกรณีต่อไปนี้ 

 

  1. มีคนเกิดในบ้าน 
  2. มีคนย้ายเข้า – ย้ายออก
  3. มีคนในบ้านเสียชีวิต
  4. ขอเลขที่บ้านใหม่ 
  5. มีการรื้อถอนบ้าน 
  6. มีสิ่งปลูกสร้างใหม่ 

 

โดยทุกข้อดังกล่าว จะต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นายทะเบียน ภายในระยะเวลา 15 วัน หลังจากที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ยกเว้นกรณีมีคนเสียชีวิต จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หากไม่แจ้งตามเวลาที่กำหนดไว้ จะผิด พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 2 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อ พ.ศ. 2551 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

ทะเบียนบ้านสีน้ำเงินทำอะไรได้และไม่ได้บ้าง 

  1. หลังจากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครบ 1 ปี สามารถขายบ้าน หรือคอนโดมิเนียมนั้น ๆ ได้ โดยไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่จะชำระเพียงค่าอากรแสตมป์ 0.5% และหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เท่านั้น (ถ้ามี) 
  2. ทะเบียนบ้านของที่อยู่อาศัยในรูปแบบ “บ้าน” กับ ทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยในรูปแบบ “คอนโด” จะไม่ต่างกัน เนื่องจากทะเบียนบ้านจะมีเล่มทะเบียนบ้านเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รายละเอียดที่ระบุไว้ด้านในเล่มทะเบียน โดยจะระบุว่าเป็น “บ้าน” หรือ “อาคารชุด” 
  3. ทะเบียนบ้านสีน้ำเงินใช้เป็นเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ เพราะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้มาจากโฉนดที่ดินเท่านั้น 
  4. ไม่สามารถใช้ทะเบียนบ้านเล่มน้ำเงินเป็นหลักค้ำประกันได้ เพราะตามหลักเกณฑ์ของกรมที่ดินและกฏหมาย ได้มีการกำหนดไว้ว่า มีเพียงโฉนดที่ดิน หรือหนังสือกรมสิทธิห้องชุดเท่านั้น ที่สามารถจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันประเภทจำนองได้ 

  1. ทะเบียนบ้านสีเหลือง ท.ร. 13  สำหรับชาวต่างชาติ 

ทะเบียนบ้านสีเหลือง ท.ร.13 คือ ทะเบียนบ้านสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว หรือเป็นผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ ตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เช่น 

 

  1. ในกรณีที่คนต่างชาติแต่งงานกับคนไทย เจ้าบ้านที่เป็นฝ่ายสามีหรือภรรยาที่มีสัญชาติไทยจะต้องไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาของทะเบียนบ้าน โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร ท.ร.13 เพื่อขอเพิ่มชื่อบุคคลลงในทะเบียนบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านเล่นเหลือง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน – ฉบับเจ้าบ้าน , บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน , หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ , ทะเบียนสมรส , ใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน หรือหลักฐานอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวหรือถาวร 
  2. กรณีที่คนต่างชาติซื้ออพาร์ทเม้นท์หรือคอนโด จะต้องยื่นขอมีทะเบียนบ้านบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย และได้รับอนุญาตให้มีถิ่นฐานที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเป็นคนต่างด้าวตามกฏหมายที่กำหนดมีสิทธิ์ซื้อห้องชุด อาคารได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้น ๆ และมีสิทธิขอทะเบียนบ้าน ประเภท ท.ร.13 ได้ โดยนำหลักฐานตามข้อแรกไปติดต่อสำนักงานเขตตามที่ตั้งของอาคารนั้น 
  3. ซื้อคอนโด โดยมีชื่อคนไทยและคนต่างชาติร่วมด้วย ใครจะได้เป็นเจ้าบ้าน? กรณีแบบนี้ การจะทำทะเบียนบ้าน เจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือสิทธิ์ในบ้านหรือคอนโดชุดนั้น เนื่องจากเจ้าบ้าน คือ หัวหน้าครอบครัว ผู้ครอบครองบ้านในฐานะผู้เช่า หรือในฐานะอื่น ๆ ซึ่งหน้าที่เจ้าบ้านมีหน้าที่ในการแจ้งเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบ้านเท่านั้น เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งจำนวนสมาชิกย้ายเข้าออก ดังนั้น กรณีที่มีคนต่างด้าวและคนไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ควรให้คนไทยได้เป็นเจ้าบ้านเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ตามกฏหมายกำหนดได้สะดวกและราบรื่น 

 

เอกสารที่ใช้ในการยื่นเรื่องทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง ท.ร.13 มีอะไรบ้าง 

  1. สำเนา Passport 
  2. หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับชาวต่างชาติที่ออกให้โดย ตม. 
  3. สูติบัตร
  4. ทะเบียนสมรส 
  5. สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่จะทำการแจ้งให้ชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย 
  6. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของพยาน
  7. รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 5 รูป สำหรับใช้ที่สำนักงานเขต 3 รูป และใช้ที่ด่าน ตม. 2 รูป

Continue Reading

กำลังมาแรง