Connect with us

สุขภาพ

อันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue light) ภัยเงียบต่อสุขภาพดวงตา

Published

on

เชื่อว่าหลายคนรู้กันอยู่แล้วว่า แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือของเรามีอันตรายต่อดวงตา รวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่รู้ไหมว่าสารมารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน 

แสงสีฟ้า คือ หนึ่งในความยาวคลื่นที่ประกอบกันของแสงขาวจากแสง UV ที่สามารถมองเห็นได้ และเมื่อผ่านละอองน้ำในอากาศ จะเห็นเป็นสีรุ้ง 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ซึ่งแสงสีฟ้านี้ก็คือสีน้ำเงิน มีพลังงานสูงค่อนข้างสูง (High – energy visible) ใกล้เคียงกับรังสียูวี โดยแสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm แต่แสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วงความคลื่นที่ประมาณ 380-480 nm สามารถทะลุผ่านอวัยวะดวงตาได้ ตั้งแต่กระจกตา เล่นส์แก้วตา ตลอดไปจนถึงจอประสาทตาที่อยู่ลึกที่สุด 

แสงสีฟ้ามาจากไหนบ้าง 

เราสามารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ 

  • ดวงอาทิตย์ มีปริมาณแสงเข้มมากที่สุด 
  • หลอดไฟ LED ไฟหน้ากระจกรถ ไฟท้ายรถ 
  • อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น Smart Watch 
  • จอโทรศัพท์มือถือ จอคอมพิวเตอร์ จอโน๊ตบุค แท็บเล็ต จอ TV 

แสงสีฟ้าอันตรายจริงไหม หรือแสงสีฟ้าช่วยอะไรได้บ้าง 

แสงสีฟ้าที่เราพบเจอทั่วไป มี 2 ประเภท คือ แสงสีฟ้าที่ดี และ แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ 

  • แสงสีฟ้าที่ดี ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนกระฉับกระเฉง ช่วยเตือนระบบการทำงานของร่างกาย ควรนอนเวลาไหน ควรตื่นเวลาไหน ควรกินตอนไหน ซึ่งเป็นระบบวงจรที่ทำให้ร่างกายทำเป็นปกติ หรือที่เราเรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” นั่นเอง 
  • แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ คือ แสงสีฟ้าที่อยู่ในช่วงคลื่นที่ 415-455 nm ส่งผลเสียต่อจอประสาทตาให้ค่อย ๆ เสื่อมลงได้ 

แสงสีฟ้าส่งผลเสียยังไง 

เมื่อได้รับแสงสีฟ้า ผลกระทบที่ได้รับโดยตรงคือ ดวงตา เพราะแสงสีฟ้าสามารถทะลุผ่านเลนส์ตาและกระจกตา เข้าไปถึงจอประสาทตาที่ลึกที่สุดและสำคัญที่สุดได้ หากได้รับแสงสีฟ้าสะสมเป็นเวลานาน จะส่งผล ดังนี้ 

  • อาการตาล้า (Digital eye strain) เพราะแสงสีฟ้ามีความสว่างมากเกินไป มีพลังงานสูง ทำให้ดวงตาทำงานหนัก จนเกิดอาการตามัว ปวดตา ตาแห้ง แสบตา น้ำตาไหล ปวดศีรษะ 
  • จอประสาทตาเสื่อม เนื่องจากแสงสีฟ้าทะลุผ่านเข้าไปในดวงตา และทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตา จนอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ 
  • อาการโรคนอนไม่หลับ เพราะแสงสีฟ้าเข้าไปยับยั้งการหลั่งสารเมลาโทนิน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่นของร่างกาย ส่งผลให้นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท 

วิธีการป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า 

  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแสงจ้ามาก ๆ หากจำเป็นต้องอยู่กลางแดด ควรป้องกันแสงเข้าสู่ดวงตา เช่น สวมแว่นกันแดด สวมหมวก กางร่ม เป็นต้น 
  • ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับดวงตา เช่น ไฟในห้องไม่ควรสว่างหรือมืดจนเกินไป ไม่จ้องหน้าจอมือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอทีวี ในความมืด เพราะความืดจะทำให้ม่านตาเราขยาย ส่งผลดวงตาได้รับแสงสีฟ้ามากเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมเป่าเข้าตาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นลมธรรมชาติ ลมจากพัดลม หรือลมจากแอร์ เพราะจะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้
  • ใช้หลัก 20-20-20 คือ พักสายทุก ๆ 20 นาที มองวัตถุไกล ๆ ห่างออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อช่วยลดการเพ่งของดวงตา 
  • ตั้งค่าอุปกรณ์เป็นโหมดกลางคืน (night or dark mode) ในช่วงเวลากลางคืน เพื่อลดความสว่างของหน้าจอ และลดอุณหภูมิสีของหน้าจอ
  • ปรับระดับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม ปรับระดับหน้าจอให้ต่ำลงกว่าระดับสายตาประมาณ 10-15 องศา และนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 1 ช่วงแขน 
  • หยุดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง 
  • ตรวจสายตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สุขภาพ

ระวัง! หมึกบลูริง สวยอันตราย โดนพิษถึงตาย 

Published

on

หมีกสายวงสีน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue – ringed Octopus) อยู่ในสายปลาหมึกยักษ์ (Hapalochlaena spp) แต่มีขนาดลำตัวเล็ก จุดเด่นคือลายวงแหวนสีน้ำเงินสะท้อนแสงได้ ซึ่งกระจายอยู่ตามลำตัวและหนวด หมึกบลูริงตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และหนวดมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เคลื่อนที่ด้วยการใช้หนวดเดิน ชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามซอกหินใต้ท้องทะเล สามารถพบได้ในทั้งในทะเลอันดามัน และ ทะเลอ่าวไทย 

ภาพจาก : https://www.forbesadvocate.com.au/story/7570384/can-you-identify-a-potentially-deadly-blue-ringed-octopus/

พิษของหมึกบลูริงร้ายแรงแค่ไหน

หมึกบลูริงเป็นสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก โดยพิษของหมึกบลูริงร้ายแรงกว่างูมีพิษแบบงูเห่าถึง 20 เท่า และรุนแรงกว่างูทะเลอีกด้วย โดยพิษของหมึกบลูริง คือ Maculotoxin (มาคูโลทอกซิน) มีลักษณะคล้ายกับพิษเทโทรโดทอกซิน หรือ Tetrodotoxin เป็นพิษของปลาปักเป้า ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต โดยพิษหมึกบลูริงจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำลาย (Salivary gland) และพบได้ในปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก ดังนั้น การได้รับพิษของหมึกบลูริง เกิดจากการสัมผัส การถูกกัด หรือเผลอกินหมึกบลูริงเข้าไป ต่อให้นำหมึกบลูริงไปผ่านความร้อนหรือปรุงสุก แต่พิษก็ไม่ได้ถูกทำลายหรือสลายไป เพราะพิษหมึกบลูริงสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส ดังน้้น ไม่ควรทานหมึกบลูริงเป็นอาหารเด็ดขาด 

 

เมื่อถูกหมึกบลูริงกัด หรือกินหมึกชนิดเข้าไป เปรียบได้เหมือนกับฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือด เพราะพิศจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว ผู้ถูกพิษอาจเสียมีอาการแพ้พิษ หรือเสียชีวิตได้ในรายที่รุนแรงภายใน 2-3 นาที ซึ่งเร็วยิ่งกว่าพิษของปลาปักเป้า 

ภาพจาก : https://www.abc.net.au/news/science/2020-12-13/blue-ringed-octopus-bites-and-how-to-avoid-them/12942666

ผู้ที่โดนพิษของหมึกบลูริง มีอาการอย่างไร 

อาการเริ่มแรกของผู้ที่ถูกกัด หรือกินหมึกบลูริงเข้าไป จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด หรือมองไม่เห็น ปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ หายใจไม่ออก เนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่มีอากาศเข้าสู่ปอด จากนั้นจะเป็นอัมพาต และหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วหากได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน 

หมึกบลูริงมีพิษร้ายแรง แต่ทำไมจึงมีคนนำมาปรุงเป็นอาหารจำหน่ายจนกลายเป็นข่าว 

ต้องยอมรับว่าตามลักษณะของหมึกบลูริง ที่มีสงแหวนสีน้ำเงินเรืองแสงได้ ประกอบกับขนาดที่เล็ก ทำให้หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน กลายเป็นที่นิยมของกลุ่มคนผู้ชื่นชอบเลี้ยงปลาสวยงาม รวมไปถึงกลุ่มคนนิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ แม้ว่ากรมประมงจะไม่อนุญาตให้นำเข้าหมึกบลูริงเข้าประเทศ แต่ก็ยังมีคนลักลอบนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือเพื่อเลี้ยงดูตามความชอบส่วนตัว อีกทั้งมีหน่วยงานราชการที่เลี้ยงหมึกสกุลนี้ไว้เพื่อการศึกษา จนกระทั่งในต้นปี ค.ศ.2016 ได้พบหมึกบลูริงถูกวางจำหน่ายบนแผงขายอาหารทะเล โดยปะปนมากับหมึกชนิดอื่น ๆ และพบถูกนำมาจำหน่ายในร้านปิ้งย่างที่เพิ่งเป็นข่าวเร็ว ๆ นี้นั่นเอง 

 

รักษาอย่างไรเมื่อได้รับพิษหมึกบลูริง 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษา หรือยาต้านพิษหมึกบลูริง หากเผลอกินหรือถูกหมึกบลูริงกัด ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และระหว่างนำตัวส่งแพทย์ อาจใช้วิธีเป่าปาก (หากไม่มีเครื่องช่วยหายใจ) เพื่อนำอากาศเข้าสู่ปอด เพื่อช่วยยื้อเวลาของการขาดออกซิเจน ที่อาจทำให้ผู้ได้รับพิษเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันพิษหมึกบลูริง คือ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ เพื่อไม่ให้ถูกหมึกบลูริงกัด และห้ามบริโภคอย่างเด็ดขาด โดยก่อนทานอาหารทะเล โดยเฉพาะเมนูปลาหมึก จะต้องสังเกตลักษณะของหมึกให้ดี หากไม่แน่ใจ ก็อย่าไปเสี่ยงเลย รับประทานอาหารชนิดอื่นแทน เพื่อลดโอกาสความเสี่ยงในการได้รับพิษหมึกบลูริงดีกว่าค่ะ 

Continue Reading

สุขภาพ

บอกทริค ใช้โรลออนระงับกลิ่นกายยังไงไม่ให้ทิ้งคราบเหลือง

Published

on

Disgusted young male wearing checkered shirt and glasses smelling wet sweaty armpit after stressful meeting, feeling nauseous, screwing lips. Black man can't stand bad smell. Hyperhidrosis and hygiene

เชื่อว่าหลายคนมีการใช้ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ รักแร้มีกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นโรลออน สเปรย์ หรือฝงแป้ง ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และเป็นไอเทมคู่ใจของคนที่มีปัญหากลิ่นตัว เพราะช่วยดับกลิ่นอับตามมุมซอกต่าง ๆ  โดยเฉพาะรักแร้ ช่วยให้หมดกังวลเรื่องกลิ่น เพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น (more…)

Continue Reading

สุขภาพ

รู้ช่วงเวลา “นาฬิกาชีวิต” ปรับสมดุลให้ร่างกายห่างไกลโรค

Published

on

เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า “นาฬิกาชีวิต” กันมาบ้างแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่เข้าใจว่านาฬิกาชีวิตคืออะไร (more…)

Continue Reading

กำลังมาแรง