สุขภาพ

อันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue light) ภัยเงียบต่อสุขภาพดวงตา

Published

on

เชื่อว่าหลายคนรู้กันอยู่แล้วว่า แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือของเรามีอันตรายต่อดวงตา รวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่รู้ไหมว่าสารมารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน 

แสงสีฟ้า คือ หนึ่งในความยาวคลื่นที่ประกอบกันของแสงขาวจากแสง UV ที่สามารถมองเห็นได้ และเมื่อผ่านละอองน้ำในอากาศ จะเห็นเป็นสีรุ้ง 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ซึ่งแสงสีฟ้านี้ก็คือสีน้ำเงิน มีพลังงานสูงค่อนข้างสูง (High – energy visible) ใกล้เคียงกับรังสียูวี โดยแสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm แต่แสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วงความคลื่นที่ประมาณ 380-480 nm สามารถทะลุผ่านอวัยวะดวงตาได้ ตั้งแต่กระจกตา เล่นส์แก้วตา ตลอดไปจนถึงจอประสาทตาที่อยู่ลึกที่สุด 

แสงสีฟ้ามาจากไหนบ้าง 

เราสามารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ 

  • ดวงอาทิตย์ มีปริมาณแสงเข้มมากที่สุด 
  • หลอดไฟ LED ไฟหน้ากระจกรถ ไฟท้ายรถ 
  • อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น Smart Watch 
  • จอโทรศัพท์มือถือ จอคอมพิวเตอร์ จอโน๊ตบุค แท็บเล็ต จอ TV 

แสงสีฟ้าอันตรายจริงไหม หรือแสงสีฟ้าช่วยอะไรได้บ้าง 

แสงสีฟ้าที่เราพบเจอทั่วไป มี 2 ประเภท คือ แสงสีฟ้าที่ดี และ แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ 

  • แสงสีฟ้าที่ดี ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนกระฉับกระเฉง ช่วยเตือนระบบการทำงานของร่างกาย ควรนอนเวลาไหน ควรตื่นเวลาไหน ควรกินตอนไหน ซึ่งเป็นระบบวงจรที่ทำให้ร่างกายทำเป็นปกติ หรือที่เราเรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” นั่นเอง 
  • แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ คือ แสงสีฟ้าที่อยู่ในช่วงคลื่นที่ 415-455 nm ส่งผลเสียต่อจอประสาทตาให้ค่อย ๆ เสื่อมลงได้ 

แสงสีฟ้าส่งผลเสียยังไง 

เมื่อได้รับแสงสีฟ้า ผลกระทบที่ได้รับโดยตรงคือ ดวงตา เพราะแสงสีฟ้าสามารถทะลุผ่านเลนส์ตาและกระจกตา เข้าไปถึงจอประสาทตาที่ลึกที่สุดและสำคัญที่สุดได้ หากได้รับแสงสีฟ้าสะสมเป็นเวลานาน จะส่งผล ดังนี้ 

  • อาการตาล้า (Digital eye strain) เพราะแสงสีฟ้ามีความสว่างมากเกินไป มีพลังงานสูง ทำให้ดวงตาทำงานหนัก จนเกิดอาการตามัว ปวดตา ตาแห้ง แสบตา น้ำตาไหล ปวดศีรษะ 
  • จอประสาทตาเสื่อม เนื่องจากแสงสีฟ้าทะลุผ่านเข้าไปในดวงตา และทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตา จนอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ 
  • อาการโรคนอนไม่หลับ เพราะแสงสีฟ้าเข้าไปยับยั้งการหลั่งสารเมลาโทนิน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่นของร่างกาย ส่งผลให้นอนหลับยาก นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท 

วิธีการป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า 

  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแสงจ้ามาก ๆ หากจำเป็นต้องอยู่กลางแดด ควรป้องกันแสงเข้าสู่ดวงตา เช่น สวมแว่นกันแดด สวมหมวก กางร่ม เป็นต้น 
  • ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับดวงตา เช่น ไฟในห้องไม่ควรสว่างหรือมืดจนเกินไป ไม่จ้องหน้าจอมือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอทีวี ในความมืด เพราะความืดจะทำให้ม่านตาเราขยาย ส่งผลดวงตาได้รับแสงสีฟ้ามากเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมเป่าเข้าตาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นลมธรรมชาติ ลมจากพัดลม หรือลมจากแอร์ เพราะจะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้
  • ใช้หลัก 20-20-20 คือ พักสายทุก ๆ 20 นาที มองวัตถุไกล ๆ ห่างออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อช่วยลดการเพ่งของดวงตา 
  • ตั้งค่าอุปกรณ์เป็นโหมดกลางคืน (night or dark mode) ในช่วงเวลากลางคืน เพื่อลดความสว่างของหน้าจอ และลดอุณหภูมิสีของหน้าจอ
  • ปรับระดับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม ปรับระดับหน้าจอให้ต่ำลงกว่าระดับสายตาประมาณ 10-15 องศา และนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 1 ช่วงแขน 
  • หยุดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง 
  • ตรวจสายตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

กำลังมาแรง

Exit mobile version