สุขภาพ

นอนที่ถูกต้องกี่ชั่วโมงถึงเพียงพอ

Published

on

เชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ มีการนอนที่ไม่ถูกต้อง นอนดึก นอนน้อย ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้โรคต่าง ๆ ตามมาได้ ทั้ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งลำไส้ โรควูบ และโรคอื่น ๆ ที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้เลย และมีคนเสียชีวิตจากการที่พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อยมานักต่อนักแล้ว ทั้งจากผลข้างเคียงของการนอนไม่พอ หรือ จากโรคภัยที่ได้กล่าวมาแล้ว 

แล้วการนอนที่ถูกต้องกี่ชั่วโมงถึงเพียงพอ? การนอนที่ถูกต้องตามหลักสากล คือ การนอนให้ครบ วันละ 6 – 8 ชั่วโมง และทางเราได้นำวิธีนอนอย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อจะได้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการนอนน้อย 

อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง 

แม้ว่าจะเหนื่อย ง่วง หรือเพลียมากแค่ไหน ก็ควรอาบน้ำก่อนนอน ยิ่งกลับมาจากข้างนอก ยิ่งควรอาบน้ำก่อนนอน เพราะร่างกายของเราเต็มไปด้วยคราบเหงื่อ สิ่งสกปรกต่าง ๆ จากหลากหลายสถานที่ ทั้งฝุ่น ควัน และเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็น การไม่อาบน้ำก่อนนอน นอกจากจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว จนอาจทำให้นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ส่งผลต่อสุขภาพการนอนไม่ดี ยังทำให้เสี่ยงต่อการป่วยได้ง่าย จากสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่บนที่นอน และอาจทำให้เกิดกลิ่นตัวรุนแรงจากการหมักหมมคราบเหงื่อไคลเป็นประจำ 

นอนในเวลากลางคืนเท่านั้น 

สำหรับใครที่มักจะนอนกลางคืนไม่หลับ หรือหลับยาก หลับไม่สนิทในเวลากลางคืน ก็ไม่ควรนอนกลางวัน แม้จะง่วงมากเพราะนอนไม่พอก็ตาม แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็ไม่ควรนอนกลางวันเกิน 1 ชั่วโมง เพราะหากนอนในช่วงเวลากลางวันตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป ก็จะทำให้ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน หรือนอนไม่หลับ ทำให้นอนไม่พอ ก็จะวนลูปเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ หรืออาจเข้านอนกลางคืนเร็วขึ้น และนอนหลับยาวนานขึ้น จนทำให้นอนมากเกินพอดี 

นอนให้อยู่ในช่วง 6 – 8 ชั่วโมง / วัน เท่านั้น 

การนอนที่ถูกต้อง นอนที่ดีต่อสุขภาพ คือ นอนไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรมากกว่า 8 ชั่วโมง ในแต่ละวัน เพราะการนอนน้อย หรือนอนมากเกินไป ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และควรนอนให้ตรงเวลา ตื่นให้ตรงเวลา หากทำเช่นนี้สม่ำเสมอ สมองจะสั่งการให้ร่างกายปรับโดยอัตโนมัติ ทำให้เมื่อใกล้ถึงเวลานอน จะรู้สึกง่วงและสามารถหลับได้ง่ายขึ้น โดยควรจะเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม หรือไม่เกิน 10.30 น. และตื่นประมาณ 6 โมงเช้า เพียงเท่านี้ก็ได้นอนหลับเต็มที่ มีความสดชื่นต้อนรับวันใหม่ 

จัดระเบียบ นาฬิกาชีวิต 

ทำกิจวัตรประจำวันให้ตรงเวลา เป็นการจัดระเบียบ นาฬิกาชีวิต ทำให้สมองจดจำ และสั่งการร่างกายให้จดจำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น หากเข้านอนช่วง 3 ทุ่มเป็นประจำ ก็จะรู้สึกง่วงนอนเมื่อถึงเวลาดังกล่าว เมื่อทุกอย่างมีระเบียบ นาฬิกาชีวิตดี ก็ส่งผลให้มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตแจ่มใส และห่างไกลจากอาการเจ็บป่วย 

ไม่ใช้ยานอนหลับ 

สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ยิ่งถ้าเคยต้องพึ่งยานอนหลับมาแล้ว ยิ่งไม่ควรใช้เด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่ออันตรายจากการดื้อยา จนยิ่งทำให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น มีความเครียดสะสม และต้องเพิ่มปริมาณยาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เสพติดกับการพึ่งยานอนหลับ หรือในรายที่นอนมากเกินไป ก็ไม่ควรใช้ยาหรือสิ่งกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว เพราะอาจทำให้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ทำให้เกิดอาการหลอน มีปัญหาทางระบบประสาท จนกลายเป็นอาการทางจิตในที่สุด การแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับที่ดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมการนอนด้วยตนเอง โดยทำดังที่กล่าวมาแล้วในข้อต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ ก็จะช่วยให้สามารถนอนหลับได้โดยไม่ต้องพึ่งยา 

หากทำทุกข้อดังนี้แล้วยังคงนอนไม่หลับ และไม่สามารถแก้ปัญหาการนอนหลับยากได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสม ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง และลุกลามจนส่งผลเสียต่อสุขภาพรุนแรง 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

กำลังมาแรง

Exit mobile version