Connect with us

เทคโนโลยี

แนะวิธีสังเกตธนบัตรปลอมอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ เมื่อแบงค์ปลอมระบาดอีกแล้ว

Published

on

ในขณะที่ธนบัตรปลอมกำลังหวนกลับมาระบาดอีกแล้ว และพบในหลายพื้นที่ของประเทศ สร้างความเสียหายและประชาชนเดือดร้อน โดยเฉพาะคนทำมาหากินสุจริต ต้องตกเป็นเหยื่อกับพวกมิจฉาชีพที่นำแบงค์ปลอมมาใช้หลอกเหยื่อ จากเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองอยู่แล้ว ยิ่งซ้ำเติมความเดือดร้อนให้กับผู้คนไปทุกหย่อมหญ้า เราจึงควรเพิ่มความระมัดระวังทุกครั้งเมื่อได้รับธนบัตร ไม่ว่าจะเป็นจากการซื้อขายหรือเงินทอน  วันนี้เรามีวิธีสังเกตธนบัตรปลอมเบื้องต้นด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ก่อนที่จะกลายเป็นเหยื่อและเกิดความเสียหาย 

วิธีสังเกตธนบัตรปลอม 

การสังเกตแบงค์ปลอมทำได้ตามสเต็ป คือ สัมผัส ยกส่อง และ พลิกเอียง เพราะแบงค์จริงต้องกลิ้งได้ คือ เมื่อพลิกเอียงธนบัตร ลายดอกไม้สีทองและแถบสีจะกลิ้งและเปลี่ยนสีได้ โดยรายละเอียดของจุดสังเกตแบงค์ปลอม มีดังนี้ 

  1. สัมผัส 

การสัมผัสธนบัตรควรสังเกตุจากจุดใดบ้าง 

  • กระดาษธนบัตร ธนบัตรแท้จะทำจากกระดาษที่มีส่วนประกอบหลักเป็นใยฝ้าย มีความทนทาน ไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป 
  • ลายพิมพ์เส้นนูน การพิมพ์บนธนบัตรจริงจะใช้แม่พิมพ์ที่ใช้แรงกดพิมพ์สูงและมีร่องหมึกลึก ทำให้หมึกพิมพ์ที่ได้มีความนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ รายละเอียดของภาพและลายเส้นจึงคมชัด โดยเฉพาะพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า “รัฐบาลไทย” เมื่อสัมผัสตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคาด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกสะดุด

2.ยกส่อง 

นำธนบัตรยกส่องกับแสงแดดหรือแสงสว่างอะไรก็ได้ จากนั้นให้สังเกตุสิ่งต่อไปนี้ 

  • ลายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ โดยเกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตที่ใช้กรรมวิธีพิเศษ จึงทำให้ความหนา-บางของเนื้อกระดาษไม่เท่ากัน จนกลายเป็นภาพตามที่ต้องการ โดยลายน้ำในธนบัตรจะเป็นรูปพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง เมื่อส่องกับแสงสว่าง และลายน้ำตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยจะมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ 
  • ภาพซ้อนทับ ซึ่งเกิดจากเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ภาพทั้งสองด้านทับซ้อนกัน ทำให้ลวดลายอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกันทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง และยังทับซ้อนกันได้สนิท ทำให้กลายภาพที่ประกอบขึ้นมีความสวยงามและสมบูรณ์ และสามารถสังเกตได้เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง 
  • แถบสี ซึ่งเป็นกรรมวิธีการฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กที่เคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตกระดาษ บางส่วนของแถบจะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง และเมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจะสามารถเห็นแถบตัวเลขและตัวอักษรได้อย่างชัดเจน 
  • ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง ซึ่งถูกพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษชนิดเรืองแสง สามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง โดยลายประดิษฐ์บริเวณกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งราคา หมวดหมาย และเส้นใยที่ฝังในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง สีแดง และ สีน้ำเงิน 

  1. พลิกเอียง 

วิธีสังเกตธนบัตรปลอมด้วยการพลิกเอียง สามารถสังเกตอะไรได้บ้าง 

  • หมีกพิมพ์ ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ ชนิด 1,000 บาท ถูกพิมพ์ด้วยหมึกแม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ โดยภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรซ้าย – ขวา หรือพลิกธนบัตรขึ้น – ลง จะเห็นการเปลี่ยนสลับสีและการเคลื่อนไหว แต่ในส่วนของธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์จะถูกพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ ที่เมื่อมีการพลิกธนบัตรฉบับราคา 100 จะเห็นเป็นประกาย 
  • ตัวเลข ตัวเลขชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ จะสามารถมองเห็นได้เมื่อพลิกเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง 
  • ช่องใส ของธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท จะมีช่องใสทรงหยดน้ำ สามารถมองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน โดยมีตัวเลข “20” ขนาดเล็กนูนขึ้นมา ตรงช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์จะมีตัวเลขใส “20” ที่พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษอยู่ด้านล่าง และสามารถมองเห็นได้ทะลุทั้งสองฝั่ง เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลง จะเห็นเป็นสีเหลือบแดง โดยมีตัวเลข “20” สีทองอยู่ตรงกลางช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 

อย่างไรก็ตาม หากพลาดได้รับธนบัตรปลอมมาแล้ว ไม่ควรนำแบงค์ปลอมไปใช้ต่อเพราะผิดกฏหมาย และรีบแจ้งความเพื่อให้ติดตามคนร้าย เพื่อป้องกันและสกัดการแพร่ระบาดของแบงค์ปลอม ไม่ให้ขยายพื้นที่และเพิ่มความเดือดร้อนไปมากกว่าเดิม อย่าลืม ได้แบงค์ปลอมต้องแจ้งความทันที 

 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บ้านและสวน

สแลนกันแดดแต่ละสีใช้งานแตกต่างกันยังไง 

Published

on

สแลนกันแดด ตาข่ายสารพัดประโยชน์ ที่เราเห็นและนำมาใช้งานกันหลากหลาย และมีหลายสีให้เลือกใช้ แต่เคยสงสัยไหมว่า สแลนแต่ละสีแตกต่างกันยังไง และสแลนสีไหนเหมาะกับการใช้งานอะไร เรามีมาบอก จะได้นำสแลนไปใช้ให้เหมาะสมกับเนื้องานกันค่ะ 

สแลนคืออะไร และ สแลนใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตาข่ายกรองแสง หรือ สแลน ภาษาอังกฤษ Shading Net คือ ตาข่ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการลดความแรงหรือความเข้มข้นของแสงแดด จากการกรองแสง พรางแสง หรือบังแสง ช่วยลดความร้อนจากแสงแดดนั่นเอง สามารถนำคุณสมบัติของสแลนไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ในการทำเกษตร คลุมแปลงผัก ทำเป็นหลังคาเรือนเพาะชำ เรือนปลูกผัก เรือนเพาะเห็ด โรงเรือน หลังคากันแดด ล้อมรั้วเลี้ยงสัตว์ บ่อปลา ฟาร์มกุ้ง ดาดฟ้า ป้องกันสิ่งของร่วงหล่น หรือใช้คลุมบริเวณต่าง ๆ ภายในที่อยู่อาศัยให้เกิดความร่มรื่น เป็นต้น 

 

แต่ในการนำสแลนบังแดดไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร การใช้งานสแลนแต่ละสีจะแตกต่างกันไป ตามคุณสมบัติการพรางแสงของสแลนที่มีปริมาณเป็นเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 50% , 60% , 70% และ 80% เรามาดูกันเลยดีกว่าว่า แต่ละสีของสแลนบังแดดช่วยพรางแสงได้เท่าไรบ้าง

สแลนทำจากอะไร 

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสแลนบังแดด คือ พลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน หรือ HDPE (High Density Polyethylene) มีความหนาแน่นสูง และมีคุณสมบัติพิเศษหลากหลายที่เหมาะต่อการนำไปใช้งาน เช่น 

  • แสงผ่านได้น้อย เพราะมีสีขุ่น เหมาะต่อการนำไปใช้เป็นวัตถุป้องกันแสง 
  • มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อการใช้งาน
  • ทนต่อสภาพอากาศและอุณหภูมิ โดยทนความร้อนได้สูงถึง 80 – 100 องศาเซลเซียส และทนต่อความเย็นได้ต่ำกว่าระดับจุดเยือกแข็ง 
  • ทนต่อสารเคมี ทนต่อสภาพความเป็นกรด – ด่าง 
  • สามารถใส่เม็ดสีได้โดยไม่กระทบต่อคุณสมบัติการใช้งาน
  • ป้องกันความชื้นซึมผ่าน กักเก็บความชุ่มชื้นได้ดี 
  • จำกัดการผ่านของอากาศ จึงเหมาะต่อการใช้ปกป้อง และควบคุมบรรยากาศได้ทั้งจากภายนอก – ภายใน 

สแลนมีกี่ประเภท 

สแลนบังแดดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามกรรมวิธีการผลิต ได้แก่ 

  • สแลนแบบถัก : เป็นสแลนที่ทำจากโพลิเอทิลีนน้ำหนักเบา เหมาะต่อการใช้ในงานเกษตรกรรม ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และกสิกรรมทุกประเภท 
  • สแลนแบบทอ : สแลนที่เป็นตาข่ายชนิดที่มีน้ำหนัก ทิ้งตัวได้ดี มีความยืดหยุ่น และทนทานต่อการใช้งานสูง นิยมใช้ในการเลี้ยงสัตว์ หรือใช้ในการปลูกสร้าง เนื่องจากมีความหนาแน่นมั่นคง 

 

ความแตกต่างของสแลนแต่ละสี

สแลนบังแดดสีขาว 

สแลนสีขาว เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการแสงมาก แต่ต้องการลดอุณหภูมิ ช่วยลดแรงลม และลดความแรงของเม็ดฝน แต่ปล่อยให้แสงขาวผ่านลงมาได้เต็มที่

 

สแลนบังแดดสีเขียว 

สแลนสีเขียว นิยมใช้เพื่อให้พืชยืดตัวสูงขึ้น ด้วยตัวสแลนช่วยกรองแสง ทำให้แสงที่ลอดผ่านลงมากลายเป็นแสงสีเขียว ซี่งเป็นแสงที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยนั่นเอง 

 

สแลนบังแดดสีน้ำเงิน 

สแลนสีน้ำเงิน นิยมใช้เพื่อให้พืชมีสีใบเข้มขึ้น เพราะแสงแดดที่ลอดผ่านสแลนสีน้ำเงิน จะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ทั้งในส่วนของรากและใบพืชได้ดี 

 

สแลนบังแดดสีแดง 

สแลนสีแดง นิยมใช้สำหรับพืชดอก หรือพืชที่ต้องการเร่งดอก และแสงที่ลอดผ่านจากสแลนสีแดงยังช่วยลดการรบกวนจากแมลงบางชนิดได่อีกด้วย 

 

สแลนกันแดดสีดำ 

สแลนสีดำ ให้ผ่านแสงผ่านน้อย จนแทบจะเรียกว่าใช้สแลนบังแสง ทำให้นิยมใช้เพื่อเป็นการสร้างร่มเงาให้กับพืช เหมาะกับพืชที่ไม่ต้องการแสงเยอะ หรือพืชที่ต้องการแสงรำไร เช่น ต้นไม้ที่เลี้ยงในคอนโด พืชผักริมระเบียง รวมไปถึงต้นกล้าของพืชต่าง ๆ เป็นต้น 

Continue Reading

สุขภาพ

อันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue light) ภัยเงียบต่อสุขภาพดวงตา

Published

on

เชื่อว่าหลายคนรู้กันอยู่แล้วว่า แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือของเรามีอันตรายต่อดวงตา รวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่รู้ไหมว่าสารมารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน 

(more…)

Continue Reading

เทคโนโลยี

ประเภทเทคโนโลยี AI ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

Published

on

AI คือ ระบบหรือโปรแกรมระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงพฤติกรรม ความคิด และการรับรู้ของมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือทางสถิติและอัลกอริทึม ในการสร้างซอร์ฟแวร์เพื่อฝังลงในเครื่องจักร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถเลียนแบบได้ใกล้เคียงความสามารถของมนุษย์ ทั้งในส่วนของการจดจำ การแยกแยะ เหตุและผล รวมไปถึงความสามารถในการตัดสินใจ และการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า (more…)

Continue Reading

กำลังมาแรง