Connect with us

สุขภาพ

รู้ช่วงเวลา “นาฬิกาชีวิต” ปรับสมดุลให้ร่างกายห่างไกลโรค

Published

on

เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า “นาฬิกาชีวิต” กันมาบ้างแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่เข้าใจว่านาฬิกาชีวิตคืออะไร

นาฬิการชีวิต คือ วงจรระบบการทำงานของร่างกายของมนุษย์ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้คนในปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพกันมากขึ้น วันนี้เราจึงได้นำวงจรนาฬิกาชีวิตในแต่ละช่วงเวลาสัมพันธ์กับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเราอย่างไรบ้างมาฝาก เพื่อให้ได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และปรับพฤติกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการทำงานของระบบร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ห่างไกลความเจ็บป่วยค่ะ 

01.00 – 03.00 น. ช่วงเวลาของตับ 

ช่วงเวลา 01.00 – 03.00 คือ ช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ได้ฟื้นฟูเต็มที่ รวมถึงระบบเลือดไหลเวียนไปยังตับได้จำนวนมาก ทำให้ตับสามารถผลิตและหลั่งสารฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขับสารพิษออกจากร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ และถ้าหากเราไม่หลับในช่วงเวลานี้ ทำให้ระบบการส่งเลือดไม่มีคุณภาพ เลือดในตับน้อย ส่งผลให้มีอาการเวียนหัว อ่อนเพลีย หลังจากตื่นนอน และอาจรู้สึกหงุดหงิดได้ง่าย  

03.00 – 05.00 น. ช่วงเวลาของปอด  

ช่วงเวลาการทำงานของปอด คือ ตั้งแต่ 03.00 – 05.00 น. ดังนั้น ควรตื่นแต่เช้า หรือในช่วงเวลานี้ เพื่อสูดหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ให้ระบบหายใจได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดให้ฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ และส่งเลือดแจกจ่ายไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายสดชื่น แจ่มใส และพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ของวันได้อย่างเต็มที่ 

05.00 – 07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ 

ช่วงที่เหมาะสมต่อการเข้าห้องน้ำ ทำการขับถ่าย เพราะเป็นเวลาการทำงานของระบบลำไส้ใหญ่ โดยเราสามารถกระตุ้นระบบขับถ่ายได้ง่าย ๆ ด้วยการดื่มน้ำ 2 แก้ว หลังตื่นนอนทันทีเป็นประจำทุกวัน ร่างกายจะเคยชินกับการขับของเสียในช่วงเวลานี้ ส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะร่างกายได้ขับเอาของเสียและกากอาหารที่ไม่จำเป็นออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายสะอาด รู้สึกสดชื่น ผิวพรรณสดใส หน้าตาแจ่มใส ไม่มีพิษสะสมในร่างกาย และไม่ป่วยง่าย เพราะเชื้อโรค สารพิษ หรือแม้แต่ปรสิต ก็จะถูกขับออกไปจากร่างกายด้วย 

07.00 – 09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาอาหาร 

กระเพาะอาหารแข็งแรง สามารถย่อยอาหารและดูดซึมได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ เราจึงควรรับประทานอาหารเช้าในระหว่างเวลานี้ และไม่ควรทานอาหารเช้าเกิน 09.00 น. โดยเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าสารอาหาร และให้พลังงานแก่ร่างกาย หลังจากที่ท้องว่างมาตลอดทั้งคืน  

09.00 – 11.00 น. ช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน 

ช่วงเวลานี้ ม้ามและตับอ่อนจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ตับอ่อนจะนำสารอาหารที่ได้หลังจากรับประทานอาหารเช้า ส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในขณะที่ม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย และคอยดักจับเชื้อโรคต่าง ๆ สำหรับใครที่มักตื่นสาย ไม่มีการทานอาหารเช้า ทำให้ตับและม้ามไม่ได้รับสารอาหาร และทำหน้าที่ในช่วงเวลาที่แข็งแรงที่สุด ส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ อ่อนเพลีย เวียนหัวบ่อย ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง อาจทำให้ป่วยง่าย ป่วยบ่อยได้ 

11.00 – 13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ 

ความดันเลือดจะสูงขึ้นได้ง่ายกว่าปกติในช่วงระหว่าง 11.00 – 13.00 น. ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ควรหลีกเลี่ยงสิ่งปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจได้ เช่น ความเครียด ความกดดัน แต่ควรผ่อนคลายสมองและจิตใจ เพื่อให้การทำงานของหัวใจมีความสมดุล 

13.00 – 15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก 

ควรงดอาหารในช่วงเวลานี้ เนื่องจากเป็นเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหาร เช่น โปรตีน วิตามินซี วิตามินบี เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง และช่วงเวลานี้ สมองซีกขวาจะทำงานได้ดี ทั้งในเรื่องความจำ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และการวางแผน 

15.00 – 17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ 

ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ ในช่วงนี้ เพราะเป็นเวลาการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ร่างกายจะขับของเสียออกในรูปแบบของเหลว เช่น ปัสสาวะ และ เหงื่อ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะได้น้อย และร่างกายขาดน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำออกไปทางเหงื่อ และอย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะจะทำให้ปัสสาวะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลเสียต่อระบบไทรอยด์ ระบบสืบพันธุ์ และยังทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย 

17.00 – 19.00 น. ช่วงเวลาของไต 

ค่าไตจะขึ้นสูงมาก ในช่วงเวลา 17.00 – 19.00  เนื่องจากไตทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และเผาผลาญโปรตีนออกจากร่างกาย ดังนั้น เพื่อให้ไตทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ควรออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เช่น การเล่นโยคะ การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ การวิ่ง หรือการทำงานบ้าน จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น รู้สึกแอคทีฟ และเพิ่มความดันเลือดได้ดีอีกด้วย 

19.00 – 21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ 

ไม่ควรทำกิจกรรมใด ๆ ที่ส่งผลให้มีการสูบฉีดเลือดแรงกว่าปกติในช่วงเวลานี้ เนื่องจากเป็นเวลาการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิต การส่งเม็ดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการความสงบ สมองและร่างกายต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ควรเตรียมตัวนอน โดยอาจหากิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง สวดมนต์ นั่งสมาธิ เป็นต้น เพื่อขจัดความเครียดและความเหนื่อยล้าจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน 

21.00 – 23.00 น. ช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการความอบอุ่น 

21.00 – 23.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ควรเข้านอน เพราะร่างกายจะปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล จึงต้องการความอบอุ่นที่เหมาะสม โดยจะมีการหลั่งสารเมลาโทนิน เราจึงต้องทำร่างกายให้อบอุ่น อย่าปล่อยให้ร่างกายร้อนหรือหนาวเกินไป ไม่ควรอาบน้ำเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ อาจทำให้ป่วยได้ หรือถ้าอาบน้ำร้อน ก็จะทำให้ร่างกายตื่นตัวเกินไป จนอาจทำให้นอนหลับยาก แต่การดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้ว อาจช่วยทำให้หลับสบายขึ้นได้ 

23.00 – 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดี 

ควรจิบน้ำสักเล็กน้อยก่อนเข้านอน เพื่อช่วยให้ถุงน้ำดีได้มีน้ำเก็บไว้ใช้ในช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังหลับ ทำให้น้ำดีไม่ข้นเกินไป เพราะถ้าน้ำดีข้นอาจทำให้ตื่นกลางดึก มีอาการปวดศีรษะ ปวดฟัน อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย และมีอาการจามในช่วงเช้าได้ 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สุขภาพ

ระวัง! หมึกบลูริง สวยอันตราย โดนพิษถึงตาย 

Published

on

หมีกสายวงสีน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue – ringed Octopus) อยู่ในสายปลาหมึกยักษ์ (Hapalochlaena spp) แต่มีขนาดลำตัวเล็ก จุดเด่นคือลายวงแหวนสีน้ำเงินสะท้อนแสงได้ ซึ่งกระจายอยู่ตามลำตัวและหนวด หมึกบลูริงตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และหนวดมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เคลื่อนที่ด้วยการใช้หนวดเดิน ชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามซอกหินใต้ท้องทะเล สามารถพบได้ในทั้งในทะเลอันดามัน และ ทะเลอ่าวไทย 

ภาพจาก : https://www.forbesadvocate.com.au/story/7570384/can-you-identify-a-potentially-deadly-blue-ringed-octopus/

พิษของหมึกบลูริงร้ายแรงแค่ไหน

หมึกบลูริงเป็นสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก โดยพิษของหมึกบลูริงร้ายแรงกว่างูมีพิษแบบงูเห่าถึง 20 เท่า และรุนแรงกว่างูทะเลอีกด้วย โดยพิษของหมึกบลูริง คือ Maculotoxin (มาคูโลทอกซิน) มีลักษณะคล้ายกับพิษเทโทรโดทอกซิน หรือ Tetrodotoxin เป็นพิษของปลาปักเป้า ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต โดยพิษหมึกบลูริงจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำลาย (Salivary gland) และพบได้ในปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก ดังนั้น การได้รับพิษของหมึกบลูริง เกิดจากการสัมผัส การถูกกัด หรือเผลอกินหมึกบลูริงเข้าไป ต่อให้นำหมึกบลูริงไปผ่านความร้อนหรือปรุงสุก แต่พิษก็ไม่ได้ถูกทำลายหรือสลายไป เพราะพิษหมึกบลูริงสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส ดังน้้น ไม่ควรทานหมึกบลูริงเป็นอาหารเด็ดขาด 

 

เมื่อถูกหมึกบลูริงกัด หรือกินหมึกชนิดเข้าไป เปรียบได้เหมือนกับฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือด เพราะพิศจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว ผู้ถูกพิษอาจเสียมีอาการแพ้พิษ หรือเสียชีวิตได้ในรายที่รุนแรงภายใน 2-3 นาที ซึ่งเร็วยิ่งกว่าพิษของปลาปักเป้า 

ภาพจาก : https://www.abc.net.au/news/science/2020-12-13/blue-ringed-octopus-bites-and-how-to-avoid-them/12942666

ผู้ที่โดนพิษของหมึกบลูริง มีอาการอย่างไร 

อาการเริ่มแรกของผู้ที่ถูกกัด หรือกินหมึกบลูริงเข้าไป จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด หรือมองไม่เห็น ปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ หายใจไม่ออก เนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่มีอากาศเข้าสู่ปอด จากนั้นจะเป็นอัมพาต และหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วหากได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน 

หมึกบลูริงมีพิษร้ายแรง แต่ทำไมจึงมีคนนำมาปรุงเป็นอาหารจำหน่ายจนกลายเป็นข่าว 

ต้องยอมรับว่าตามลักษณะของหมึกบลูริง ที่มีสงแหวนสีน้ำเงินเรืองแสงได้ ประกอบกับขนาดที่เล็ก ทำให้หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน กลายเป็นที่นิยมของกลุ่มคนผู้ชื่นชอบเลี้ยงปลาสวยงาม รวมไปถึงกลุ่มคนนิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ แม้ว่ากรมประมงจะไม่อนุญาตให้นำเข้าหมึกบลูริงเข้าประเทศ แต่ก็ยังมีคนลักลอบนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือเพื่อเลี้ยงดูตามความชอบส่วนตัว อีกทั้งมีหน่วยงานราชการที่เลี้ยงหมึกสกุลนี้ไว้เพื่อการศึกษา จนกระทั่งในต้นปี ค.ศ.2016 ได้พบหมึกบลูริงถูกวางจำหน่ายบนแผงขายอาหารทะเล โดยปะปนมากับหมึกชนิดอื่น ๆ และพบถูกนำมาจำหน่ายในร้านปิ้งย่างที่เพิ่งเป็นข่าวเร็ว ๆ นี้นั่นเอง 

 

รักษาอย่างไรเมื่อได้รับพิษหมึกบลูริง 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษา หรือยาต้านพิษหมึกบลูริง หากเผลอกินหรือถูกหมึกบลูริงกัด ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และระหว่างนำตัวส่งแพทย์ อาจใช้วิธีเป่าปาก (หากไม่มีเครื่องช่วยหายใจ) เพื่อนำอากาศเข้าสู่ปอด เพื่อช่วยยื้อเวลาของการขาดออกซิเจน ที่อาจทำให้ผู้ได้รับพิษเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันพิษหมึกบลูริง คือ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ เพื่อไม่ให้ถูกหมึกบลูริงกัด และห้ามบริโภคอย่างเด็ดขาด โดยก่อนทานอาหารทะเล โดยเฉพาะเมนูปลาหมึก จะต้องสังเกตลักษณะของหมึกให้ดี หากไม่แน่ใจ ก็อย่าไปเสี่ยงเลย รับประทานอาหารชนิดอื่นแทน เพื่อลดโอกาสความเสี่ยงในการได้รับพิษหมึกบลูริงดีกว่าค่ะ 

Continue Reading

สุขภาพ

บอกทริค ใช้โรลออนระงับกลิ่นกายยังไงไม่ให้ทิ้งคราบเหลือง

Published

on

Disgusted young male wearing checkered shirt and glasses smelling wet sweaty armpit after stressful meeting, feeling nauseous, screwing lips. Black man can't stand bad smell. Hyperhidrosis and hygiene

เชื่อว่าหลายคนมีการใช้ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ รักแร้มีกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นโรลออน สเปรย์ หรือฝงแป้ง ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และเป็นไอเทมคู่ใจของคนที่มีปัญหากลิ่นตัว เพราะช่วยดับกลิ่นอับตามมุมซอกต่าง ๆ  โดยเฉพาะรักแร้ ช่วยให้หมดกังวลเรื่องกลิ่น เพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น (more…)

Continue Reading

สุขภาพ

อันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue light) ภัยเงียบต่อสุขภาพดวงตา

Published

on

เชื่อว่าหลายคนรู้กันอยู่แล้วว่า แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือของเรามีอันตรายต่อดวงตา รวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่รู้ไหมว่าสารมารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน 

(more…)

Continue Reading

กำลังมาแรง