Connect with us

สุขภาพ

ปกป้องปอดลูกน้อยอย่างไรให้ห่างไกลจากมลภาวะทางอากาศ 

Published

on

ต้องยอมรับว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ เป็นปัญหาคุกคามสุขภาพของเราทุกคน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น pm 2.5 มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กมีอัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้มีโอกาสสูดฝุ่นพิษเข้าไปได้มากกว่า ยิ่งเด็กอายุน้อยเท่าไร อัตราการหายใจเข้าต่อนาทียิ่งถี่มากขึ้นเท่านั้น และอวัยวะของเด็กยังไม่มีความแข็งแรงมากพอ เพราะกำลังอยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้เด็กมีความเปราะบางและเกิดผลกระทบต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยาวได้มากกว่าผู้ใหญ่ 

 

เมื่อเด็กได้สูดเอาฝุ่น PM 2.5 ผ่านเข้าไปในสมอง ฝุ่นละอองจะทำลายเซลล์สมอง ส่งผลต่อการพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก มีผลต่อเนื่องในความสามารถการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในระยะยาวเมื่อเด็กเติบโตขึ้น ดังนนั้น ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 จึงเป็นปัญหาสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม ควรหาวิธีปกป้องปอดน้อย ๆ ของพวกเขา เพื่อให้ได้มีสุขภาพแข็งแรงและเติบโตอย่างมีคุณภาพ แม้จะอยู่ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายอย่างที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ก็ตาม โดยวิธีดูแลและปกป้องปอดลูกน้อยจากมลภาวะทางอากาศ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ 

 

วิธีปกป้องปอดลูกน้อยให้ห่างไกลจาก PM 2.5

  1. สอนลูกให้รู้จักอันตรายของฝุ่น PM 2.5 

เด็กเล็กช่วงอายุ 1-3 ขวบ เป็นวัยที่เริ่มจดจำ และสามารถสอนให้เข้าใจในสิ่งที่ไม่ยากเกินไปได้ รวมไปถึงการสอนให้รู้จักอันตรายจากฝุ่นพิษpm 2.5  มลภาวะทางอากาศ สอนให้รู้จักป้องกันตัวเองอย่างไรเมื่อต้องออกไปข้างนอก เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การสวมหน้ากากกันฝุ่นสำหรับเด็ก รวมทั้งยังสามารถสอนให้เด็ก ๆ รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นการลดปัญหาฝุ่นพิษในอนาคตได้อีกด้วย 

  1. เตรียมการป้องกัน

ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้สามารถปิดห้องได้มิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก การติดตั้งเครื่องกรองอากาศ หรือ การปลูกไม้ฟอกอากาศ จัดเตรียมหน้ากากอนามัย หน้ากากกันฝุ่น N95 ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดพอดีกับเด็ก ๆ ตามกำลังและความสามารถของแต่ละครอบครัว 

  1. หากิจกรรมในร่มให้กับลูกแทนการเล่นนอกบ้าน

โดยปกติเด็ก ๆ ควรต้องมีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาการ และออกกำลังกายเพื่อเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ทั้งการเดิน การวิ่ง และการเล่น ซึ่งที่ผ่านมาจะมีการสนับสนุนให้เด็ก ๆ ได้มีกิจกรรมการเล่นนอกบ้าน เพื่อสร้างพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และทางสังคม แต่ปัจจุบัน ด้วยอันตรายของฝุ่น pm 2.5 ในอากาศสูงจนกระทบต่อสุขภาพ จึงต้องเปลี่ยนเป็นการจัดกิจกรรมในร่มแทน โดยควรจัดหาของเล่นตามวัยไว้ในบ้าน โดยปรับเปลี่ยนบริเวณบ้านให้มีพื้นที่โล่งกว้างสำหรับการวิ่งเล่นของเด็ก ๆ หรืออาจหากิจกรรมสันทนาการทำร่วมกันในครอบครัว นอกจากเด็ก ๆ จะได้มีกิจกรรมทำ ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้แน่นแฟ้นและสามัคคีกันมากขึ้น 

  1. จัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกทาน 

อาหาร 5 หมู่ มีประโยชน์และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กทุกวัย จึงควรให้ลูกได้รับสารอาหารหลากหลายและเพียงพอต่อการพัฒนาและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของร่างกายเด็ก ๆ โดยเฉพาะควรเสริมวิตามินดีให้กับลูกน้อยทดแทนจากการที่ไม่ได้ออกไปรับแสงแดดนอกบ้าน ซึ่งร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์วิตามินจากแสงแดดได้ ดังนั้น การทำกิจกรรมอยู่แต่ในบ้าน อาจทำให้เสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีได้ แต่สามารถเสริมให้กับเด็กได้ด้วยการให้ดื่มนม และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ไข่แดง น้ำมันตับปลา ธัญพืช และ ผักต่าง ๆ  เพื่อชดเชยการขาดวิตามินดีและวิตามินอื่น ๆ รวมไปถึงสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาในการเจริญเติบโตของเด็กทุกวัย 

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สุขภาพ

ระวัง! หมึกบลูริง สวยอันตราย โดนพิษถึงตาย 

Published

on

หมีกสายวงสีน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue – ringed Octopus) อยู่ในสายปลาหมึกยักษ์ (Hapalochlaena spp) แต่มีขนาดลำตัวเล็ก จุดเด่นคือลายวงแหวนสีน้ำเงินสะท้อนแสงได้ ซึ่งกระจายอยู่ตามลำตัวและหนวด หมึกบลูริงตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร และหนวดมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เคลื่อนที่ด้วยการใช้หนวดเดิน ชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามซอกหินใต้ท้องทะเล สามารถพบได้ในทั้งในทะเลอันดามัน และ ทะเลอ่าวไทย 

ภาพจาก : https://www.forbesadvocate.com.au/story/7570384/can-you-identify-a-potentially-deadly-blue-ringed-octopus/

พิษของหมึกบลูริงร้ายแรงแค่ไหน

หมึกบลูริงเป็นสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก โดยพิษของหมึกบลูริงร้ายแรงกว่างูมีพิษแบบงูเห่าถึง 20 เท่า และรุนแรงกว่างูทะเลอีกด้วย โดยพิษของหมึกบลูริง คือ Maculotoxin (มาคูโลทอกซิน) มีลักษณะคล้ายกับพิษเทโทรโดทอกซิน หรือ Tetrodotoxin เป็นพิษของปลาปักเป้า ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เหยื่อตายหรือเป็นอัมพาต โดยพิษหมึกบลูริงจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำลาย (Salivary gland) และพบได้ในปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก ดังนั้น การได้รับพิษของหมึกบลูริง เกิดจากการสัมผัส การถูกกัด หรือเผลอกินหมึกบลูริงเข้าไป ต่อให้นำหมึกบลูริงไปผ่านความร้อนหรือปรุงสุก แต่พิษก็ไม่ได้ถูกทำลายหรือสลายไป เพราะพิษหมึกบลูริงสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส ดังน้้น ไม่ควรทานหมึกบลูริงเป็นอาหารเด็ดขาด 

 

เมื่อถูกหมึกบลูริงกัด หรือกินหมึกชนิดเข้าไป เปรียบได้เหมือนกับฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือด เพราะพิศจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว ผู้ถูกพิษอาจเสียมีอาการแพ้พิษ หรือเสียชีวิตได้ในรายที่รุนแรงภายใน 2-3 นาที ซึ่งเร็วยิ่งกว่าพิษของปลาปักเป้า 

ภาพจาก : https://www.abc.net.au/news/science/2020-12-13/blue-ringed-octopus-bites-and-how-to-avoid-them/12942666

ผู้ที่โดนพิษของหมึกบลูริง มีอาการอย่างไร 

อาการเริ่มแรกของผู้ที่ถูกกัด หรือกินหมึกบลูริงเข้าไป จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด หรือมองไม่เห็น ปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดหรือกลืนน้ำลายไม่ได้ หายใจไม่ออก เนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่มีอากาศเข้าสู่ปอด จากนั้นจะเป็นอัมพาต และหยุดหายใจเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วหากได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน 

หมึกบลูริงมีพิษร้ายแรง แต่ทำไมจึงมีคนนำมาปรุงเป็นอาหารจำหน่ายจนกลายเป็นข่าว 

ต้องยอมรับว่าตามลักษณะของหมึกบลูริง ที่มีสงแหวนสีน้ำเงินเรืองแสงได้ ประกอบกับขนาดที่เล็ก ทำให้หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน กลายเป็นที่นิยมของกลุ่มคนผู้ชื่นชอบเลี้ยงปลาสวยงาม รวมไปถึงกลุ่มคนนิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ แม้ว่ากรมประมงจะไม่อนุญาตให้นำเข้าหมึกบลูริงเข้าประเทศ แต่ก็ยังมีคนลักลอบนำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือเพื่อเลี้ยงดูตามความชอบส่วนตัว อีกทั้งมีหน่วยงานราชการที่เลี้ยงหมึกสกุลนี้ไว้เพื่อการศึกษา จนกระทั่งในต้นปี ค.ศ.2016 ได้พบหมึกบลูริงถูกวางจำหน่ายบนแผงขายอาหารทะเล โดยปะปนมากับหมึกชนิดอื่น ๆ และพบถูกนำมาจำหน่ายในร้านปิ้งย่างที่เพิ่งเป็นข่าวเร็ว ๆ นี้นั่นเอง 

 

รักษาอย่างไรเมื่อได้รับพิษหมึกบลูริง 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษา หรือยาต้านพิษหมึกบลูริง หากเผลอกินหรือถูกหมึกบลูริงกัด ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และระหว่างนำตัวส่งแพทย์ อาจใช้วิธีเป่าปาก (หากไม่มีเครื่องช่วยหายใจ) เพื่อนำอากาศเข้าสู่ปอด เพื่อช่วยยื้อเวลาของการขาดออกซิเจน ที่อาจทำให้ผู้ได้รับพิษเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันพิษหมึกบลูริง คือ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ เพื่อไม่ให้ถูกหมึกบลูริงกัด และห้ามบริโภคอย่างเด็ดขาด โดยก่อนทานอาหารทะเล โดยเฉพาะเมนูปลาหมึก จะต้องสังเกตลักษณะของหมึกให้ดี หากไม่แน่ใจ ก็อย่าไปเสี่ยงเลย รับประทานอาหารชนิดอื่นแทน เพื่อลดโอกาสความเสี่ยงในการได้รับพิษหมึกบลูริงดีกว่าค่ะ 

Continue Reading

สุขภาพ

บอกทริค ใช้โรลออนระงับกลิ่นกายยังไงไม่ให้ทิ้งคราบเหลือง

Published

on

Disgusted young male wearing checkered shirt and glasses smelling wet sweaty armpit after stressful meeting, feeling nauseous, screwing lips. Black man can't stand bad smell. Hyperhidrosis and hygiene

เชื่อว่าหลายคนมีการใช้ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อ รักแร้มีกลิ่น ไม่ว่าจะเป็นโรลออน สเปรย์ หรือฝงแป้ง ซึ่งล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และเป็นไอเทมคู่ใจของคนที่มีปัญหากลิ่นตัว เพราะช่วยดับกลิ่นอับตามมุมซอกต่าง ๆ  โดยเฉพาะรักแร้ ช่วยให้หมดกังวลเรื่องกลิ่น เพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น (more…)

Continue Reading

สุขภาพ

อันตรายจากแสงสีฟ้า (Blue light) ภัยเงียบต่อสุขภาพดวงตา

Published

on

เชื่อว่าหลายคนรู้กันอยู่แล้วว่า แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือของเรามีอันตรายต่อดวงตา รวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่รู้ไหมว่าสารมารถพบแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน 

(more…)

Continue Reading

กำลังมาแรง